คานรับแรงดัด “แบบปกติ” และคานรับแรงดัด “แบบลึก”

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

เหมือนเช่นเคยในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการตั้งคำถามประจำสัปดาห์ โดยที่คำถามประจำสัปดาห์ในวันนี้จะมีความเกี่ยวข้องกับหัวข้อในวันอังคารที่ผ่านมาซึ่งมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ โดยที่รายละเอียดของปัญหาที่ผมได้เลือกหยิบยกเอามาถามเพื่อนๆ ในวันนี้นั้นค่อนข้างที่จะมีความง่ายดายมากๆ เลย ซึ่งจะมีรายละเอียดของคำถามดังต่อไปนี้ครับ

จะเห็นได้ว่าคานทั้ง 3 ในรูปๆ นี้จะมีขนาดของคานและเสาที่ทำหน้าที่รองรับคาน รวมไปถึงระยะความยาวช่วงระหว่างศูนย์กลางถึงศูนย์กลางของจุดรองรับที่เท่าๆ กัน โดยจะแตกต่างกันเฉพาะลักษณะของน้ำหนักบรรทุกที่กระทำอยู่บนคาน ดังนั้นผมอยากที่จะสอบถามเพื่อนๆ ว่า คานหมายเลขใดที่ถูกจัดว่ามีพฤติกรรมเป็นคานรับแรงดัด “แบบปกติ” และคานใดที่เข้าข่ายว่ามีพฤติกรรมเป็นคานรับแรงดัด “แบบลึก” ?

#โพสต์ของวันเสาร์

#การตั้งQUIZทางวิชาการประจำสัปดาห์

#คำถามประจำสัปดาห์เกี่ยวกับเรื่องวิธีในการจำแนกโครงสร้างคานที่มีพฤติกรรมเป็นแบบปกติและแบบลึก

 

เฉลย

โดยที่คำถามประจำสัปดาห์ในวันนี้จะมีความเกี่ยวข้องกับหัวข้อในวันอังคารที่ผ่านมาซึ่งมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ โดยที่รายละเอียดของปัญหาที่ผมได้เลือกหยิบยกเอามาถามเพื่อนๆ ในวันนี้นั้นค่อนข้างที่จะมีความง่ายดายมากๆ เลย ซึ่งจะมีรายละเอียดของคำถามดังต่อไปนี้ครับ

จะเห็นได้ว่าคานทั้ง 3 ในรูปๆ นี้จะมีขนาดของคานและเสาที่ทำหน้าที่รองรับคาน รวมไปถึงระยะความยาวช่วงระหว่างศูนย์กลางถึงศูนย์กลางของจุดรองรับที่เท่าๆ กัน โดยจะแตกต่างกันเฉพาะลักษณะของน้ำหนักบรรทุกที่กระทำอยู่บนคาน ดังนั้นผมอยากที่จะสอบถามเพื่อนๆ ว่า คานหมายเลขใดที่ถูกจัดว่ามีพฤติกรรมเป็นคานรับแรงดัด “แบบปกติ” และคานใดที่เข้าข่ายว่ามีพฤติกรรมเป็นคานรับแรงดัด “แบบลึก” ?

 

หลักการของการจะวิเคราะห์ดูว่าคานใดที่มีลักษณะของพฤติกรรมเป็นคานรับแรงดัด “แบบปกติ” หรือ “แบบลึก” มีวิธีการสังเกตง่ายๆ ก็ตามที่ผมได้ให้คำแนะนำไปเมื่อในสัปดาห์ที่ผ่านมานั่นก็คือ จำแนกก่อนว่าลักษณะคานของเรานั้นมีการรับแรงในลักษณะใดเป็นหลัก เช่น แรงกระทำแบบแผ่กระจายตัวสม่ำเสมอ (UNIFORMLY DISTRIBUTED FORCE) หรือ แรงกระทำแบบจุด (CONCENTRATED LOAD) เป็นต้น จากนั้นก็ให้เราทำการตรวจสอบและคำนวณ ค่าสัดส่วนของความลึก หรือ DEPTH RATIO ว่ามีค่าสัดส่วนเป็นไปตามที่ผมได้ให้คำแนะนำเอาไง้หรือไม่

 

ทั้งนี้หากว่าคานของเรามีลักษณะของการรับแรงเป็นไปในลักษณะแบบผสมผสานกัน กล่าวคือในคานหนึ่งคานนั้นจะประกอบไปด้วย แรงกระทำแบบแผ่กระจายตัวสม่ำเสมอ และ แรงกระทำแบบจุด เราก็เพียงแค่ทำการคำนวณด้วย DEPTH RATIO ข้างต้น เมื่อคำนวณเสร็จแล้วเราอาจจะพบว่าค่า DEPTH RATIO หนึ่ง DEPTH RATIO ใดที่แสดงผลให้เราเห็นว่าคานของเราเข้าข่ายเป็นคานลึก ก็ให้ถือว่าคานนั้นเป็นคานลึกนั่นเองครับ

 

โดยที่ผมขออนุญาตทำการสรุปคำตอบของปัญหาข้อนี้ดังนี้ จากผลการวิเคราะห์ค่า DEPTH RATIO ของคานทั้ง 3 ในรูปๆ นี้ก็จะถือได้ว่าคานทั้ง 3 เป็น คานลึก ทั้งหมดทุกๆ คานเลยนะครับ

 

เป็นอย่างไรบ้างครับ ปัญหาประจำสัปดาห์นี้ง่ายจริงๆ ใช่หรือไม่ครับ เอาเป็นว่าเพื่อนๆ สามารถที่จะดูเฉลยในเรื่องรายละเอียดของการคำนวณได้จากรูปในโพสต์ๆ นี้ได้เลยนะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#การตอบคำถามทางวิชาการประจำสัปดาห์

#เฉลยคำถามประจำสัปดาห์เกี่ยวกับเรื่องวิธีในการจำแนกโครงสร้างคานที่มีพฤติกรรมเป็นแบบปกติและแบบลึก

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com