รูปแบบการทดสอบ ค่าการยุบตัวของตัวอย่างคอนกรีต

รูปแบบการทดสอบ ค่าการยุบตัวของตัวอย่างคอนกรีต

ก่อนการเทคอนกรีตทุกครั้ง ควรต้องทำการตรวจสอบค่าการยุบตัวของ ตัวอย่างคอนกรีต ซึ่งการทดสอบอาจปฏิบัติตามวิธีการที่ได้มีระบุเอาไว้ในมาตรฐาน ASTM C143/C143M ในภาษาอังกฤษ คือ STANDARD TEST METHOD FOR SLUMP OF HYDRAULIC-CEMENT CONCRETE โดยเมื่อทำการเก็บ ตัวอย่างของคอนกรีตมาทำการทดสอบแล้ว นอกจากค่าการยุบตัวของคอนกรีต ที่ต้องการทราบ จะพบรูปแบบของการวิบัติของ ตัวอย่างคอนกรีตภายหลังจากการทดสอบ ซึ่งรูปแบบจำแนกได้ออกเป็น 3 รูปแบบหลักๆ

รูปแบบที่ 1 คือ TRUE SLUMP
คือ การวิบัติเกิดขึ้นแบบสม่ำเสมอทั่วๆกันทั้งตัวอย่าง โดยที่การยุบตัวของตัวอย่างคอนกรีตนั้น ไม่ได้เกิดในลักษณะที่แยกตัวออกจากกัน โดยที่รูปแบบนี้คือรูปแบบที่ตัวอย่างคอนกรีตควรจะเป็น เพราะ ลักษณะดังกล่าวเป็นสิ่งที่ยืนยันให้ทราบได้ว่าเนื้อคอนกรีตค่อนข้างจะมีการยึดเกาะตัวกันดีอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่เกิดการแยกตัวออกจากกัน

รูปแบบที่ 2 คือ SHEAR SLUMP
คือ การวิบัติจะเกิดขึ้นแบบไม่สม่ำเสมอทั่วๆกันทั้งตัวอย่าง โดยที่การยุบตัวของตัวอย่างคอนกรีตนั้น จะเกิดในลักษณะที่แยกตัวออกจากกัน โดยที่รูปแบบนี้คือรูปแบบที่ตัวอย่างคอนกรีตไม่ควรจะเป็น เพราะ ลักษณะดังกล่าวของเป็นในลักษณะการพังทลายลงโดยแรงเฉือน
สิ่งที่บ่งบอกให้ให้ทราบจากรูปแบบการวิบัติในลักษณะนี้ คือ เนื้อคอนกรีตค่อนข้างมีการยึดเกาะตัวกันแบบไม่มีความสม่ำเสมอ เนื้อคอนกรีตจะเกิดการแยกตัวออกจากกัน และอาจเกิดการเยิ้มน้ำมากจนเกินไป ซึ่งหากนำคอนกรีตในลักษณะนี้มาใช้งาน ก็อาจเกิดปัญหาในเรื่องของความคงทนในการใช้งานตัวโครงสร้างคอกนรีตในระยะยาว

รูปแบบที่ 3 คือ COLLAPSE SLUMP
คือ เนื้อคอนกรีตค่อนข้างมีความเละมากๆ แบบไม่สม่ำเสมอกันทั่วทั้งตัวอย่าง โดยที่การยุบตัวของตัวอย่างคอนกรีตนั้นเกิดการแยกตัวออกจากกันอย่างเห็นได้ชัด โดยที่รูปแบบนี้คือรูปแบบที่ตัวอย่างคอนกรีตที่ไม่ควรนำมาใช้งานโดยเด็ดขาด เพราะ ลักษณะของการวิบัติดังกล่าวของตัวอย่างคอนกรีต จะเป็นไปในลักษณะการพังทลายลงโดยสิ้นเชิง
หากเรายังดันทุรังที่จะใช้คอนกรีตที่มีลักษณะของการวิบัติแบบนี้ ก็มีความเป็นไปได้สูงว่าอาจจะต้องพบเจอกับปัญหาในเรื่องของค่ากำลังอัดของคอนกรีตที่ได้นั้นมีค่าต่ำกว่ากำลังที่ทางผู้ออกแบบได้ทำการออกแบบเอาไว้ตั้งแต่ตอนต้น

ดังนั้นหากต้องทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานก่อสร้างประเด็นนี้ เป็นประเด็นมีความสำคัญมาก ที่ไม่ควรมองข้าม ดังนั้นควรที่จะทำการศึกษาข้อมูลในเบื้องต้นให้ดี เช่น
-ค่ากำลังของคอนกรีตที่ได้ทำการสั่งมานั้นมีค่าเป็นเท่าใด?
-สัดส่วน ส่วนผสมที่ใช้ในการผสมคอนกรีตนั้นเป็นแบบ ปกติหรือไม่?
-มีการใช้สารผสมเพิ่มพิเศษใด เพื่อเพิ่มความสามารถในการเทได้ ใช่ หรือ ไม่? เป็นต้น
จากนั้นทำการควบคุมทั้ง ค่าการยุบตัว และ รูปแบบของการวิบัติ ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่ควรจะเป็น ทั้งนี้เพื่อให้โครงสร้างคอนกรีตที่ใช้งานไม่เกิดปัญหาทั้งในเรื่องของ ค่ากำลังอัด และ ความคงทนในการใช้งาน ตลอดอายุการใช้งานของตัวโครงสร้าง

Miss Spunpile 

Bhumisiam (ภูมิสยาม)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) 

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 
☎️ 082-790-1448 
☎️ 082-790-1449 
☎️ 091-9478-945 
☎️ 091-8954-269 
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam