หลักในการออกแบบ แผ่นพื้นชนิดวางตัวอยู่บนคาน และ แผ่นพื้นชนิดวางตัวอยู่บนเสา

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไป มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

ก่อนที่จะเริ่มต้นทำการอธิบายถึงหลักในการออกแบบ แผ่นพื้นชนิดวางตัวอยู่บนคาน และ แผ่นพื้นชนิดวางตัวอยู่บนเสา นั้นวันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการกล่าวนำให้เพื่อนๆ ได้มีความรู้พื้นฐานกันสักเล็กน้อยเกี่ยวกับเรื่องชนิดของโครงสร้างที่มีชื่อว่า พื้น นี้กันสักเล็กน้อยก่อนนะครับ

 

จริงๆ แล้วแผ่นพื้น คสล ก็คือ องค์อาคารที่อยู่ในแนวราบซึ่งจะทำหน้าที่ในการรองรับน้ำหนักใช้สอยต่างๆ ภายในอาคาร โดยที่แผ่นพื้นนั้นๆ อาจจะถูกรองรับด้วยโครงสร้างต่างๆ ได้มากมายหลากหลายชนิดเลยนะครับ เช่น โครงสร้างคาน หรือ ผนังอิฐก่อ หรือ ผนัง คสล หรือ โดยองค์อาคารเหล็ก หรือ โดยเสา หรือ โดยพื้นดิน เป็นต้น ดังนั้นไม่ว่าเราจะใช้อะไรในการรองรับพื้นนั้นๆ เราก็จะใช้ชื่อเรียกระบบโครงสร้างนั้นๆ ว่าเป็นระบบ แผ่นพื้น เหมือนๆ กันทั้งหมดนะครับ

 

โดยที่แผ่นพื้นดังกล่าวนั้นอาจจะถูกรองรับโดยด้านทั้ง 4 ด้าน หรือ 3 ด้าน หรือ 2 ด้าน หรือน้อยที่สุดคือ 1 ด้านก็ได้ ซึ่งจำนวนด้านของการรองรับแผ่นพื้นนั้นจะเป็นตัวจำแนกทิศทางหลักๆ ในการถ่ายแรงของแผ่นพื้นนั่นเอง ตัวอย่างเช่น ในรูป (a) ซึ่งเป็นแผ่นพื้นที่มีคานรองรับอยู่ใน 2 ทิศทางที่ตรงข้ามกัน แบบนี้เราจะเรียกแผ่นพื้นประเภทนี้ว่า แผ่นพื้นทางเดียว หรือ ONE-WAY SLAB ส่วนในรูป (b) เป็นแผ่นพื้นยื่นหรือ CANTILEVER SLAB ซึ่งจะมีคานรองรับอยู่เพียง 1 ทิศทาง แบบนี้เราจะเรียกแผ่นพื้นประเภทนี้ว่า แผ่นพื้นทางเดียวเช่นกัน สำหรับในรูป (c) ซึ่งเป็นแผ่นพื้นที่มีคานรองรับอยู่ในทั้ง 4 ทิศทาง แบบนี้เราจะเรียกแผ่นพื้นประเภทนี้ว่า แผ่นพื้นสองทาง หรือ TWO-WAY SLAB เป็นต้นนะครับ

 

ซึ่งสิ่งที่จะเป็นตัวจำแนกทิศทางของการถ่ายแรงต่างๆ ของแผ่นพื้นจริงๆ แล้วก็คือ ค่าความแข็งแกร่ง หรือ STIFFNESS ที่เกิดจากจุดรองรับที่ทำหน้าที่ในการยึดรั้งแผ่นพื้นนั้นๆ นะครับ เช่น สาเหตุที่รูป (a) และ (b) นั้นเป็นแผ่นพื้นทางเดียวก็เพราะค่าความแข็งแกร่งของจุดรองรับนั้นเป็นไปในทิศทางเดียวซึ่งก็คือทิศทางที่มีจุดรองรับอยู่ ส่วนสาเหตุที่รูป (c) นั้นเป็นแผ่นพื้นสองทางก็เพราะค่าความแข็งแกร่งของจุดรองรับนั้นจะมีกระจายตัวอยู่ในทั้ง 2 ทิศทาง ซึ่งก็คือทิศทางที่มีจุดรองรับอยู่นั่นเองครับ เป็นต้นครับ ดังนั้นหากว่าเราบังเอิญไปเจอโครงสร้างแผ่นพื้นที่มีคานรองรับอยู่ ไม่ว่าจะมีคานรองรับอยู่กี่ด้านก็ตาม หากมองด้วยตาเปล่าแล้วเราจะไม่มีทางทราบได้เลยครับว่าแผ่นพื้นนั้นๆ เป็นแผ่นพื้นชนิดทางเดียวหรือสองทางกันแน่ ทั้งนี้เราอาจจะต้องทำการ สอบถาม หรือ เปิดดูจากแบบวิศวกรรมโครงสร้างว่า ตอนที่ทำการก่อสร้างนั้นแผ่นพื้นนั้นๆ มีรายละเอียดของการยึดรั้งหรือการเสริมเหล็กเป็นอย่างไรกันแน่ เราถึงจะทราบได้อย่างแน่ชัดว่าแผ่นพื้นนั้นๆ เป็นแผ่นพื้นชนิดใดกันแน่นั่นเองนะครับ

 

ภายในสัปดาห์หน้าผมจะขออนุญาตมาพูดต่อถึงเรื่อง แผ่นพื้นชนิดวางตัวอยู่บนคานที่เป็น แผ่นพื้นทางเดียว และ แผ่นพื้นสองทาง กันต่อ หากว่ามีเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษ ก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความฉบับนี้ของผมกันได้นะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างเหนือและใต้ดิน

#เกริ่นนำความรู้เรื่องแผ่นพื้นคอนกรีต

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com