เทคนิคง่ายๆ ในการทำงานการขุดดินหรือถมดิน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ

 

หากเพื่อนๆ ลองนึกดูดีๆ ว่าในการเริ่มต้นงานก่อสร้างอะไรก็แล้วแต่ ขั้นตอนใดที่พวกเราจะต้องทำกันเป็นอันดับแรกเลย แน่นอนว่าคำตอบส่วนใหญ่ของเพื่อนๆ ก็คือ การขุดดิน หรือ การถมดิน ดังนั้นในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการอธิบายถึงข้อพิจารณาต่างๆ ในการทำงานการขุดหรือถมดินเพื่อเป็นความรู้และวิทยาทานให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

 

จุดประสงค์ที่เราจะต้องทำการขุดดิน หรือ การถมดิน นั้นเป็นเพราะว่า เราต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงเรื่อง “ระดับ” หรือ ”ปริมาณ” ของงานดินที่อยู่ในสถานที่ก่อสร้างให้มีการ “เพิ่มขึ้น” หรือ “ลดลง” ดังนั้นประเด็นหลักๆ 3 ข้อ ที่เราควรที่จะนำมาใช้ในการพิจารณาในการทำงานการขุดหรือถมดินก็อาจจะประกอบไปด้วย

ข้อที่ 1 พิจารณาถึงเรื่อง ปริมาณของงานดินที่เราต้องการที่จะ “เพิ่ม” หรือ “ลด” นั้นเข้าข่ายที่จะต้องทำการขออนุญาตในการเคลื่อนย้ายดินเข้าหรือออกจากสถานที่ก่อสร้างหรือไม่เพราะแน่นอนว่าหากเข้าข่าย ก็ควรที่จะปฏิบัติการขออนุญาตในการเคลื่อนย้ายดินเข้าหรือออกจากสถานที่ก่อสร้างให้เรียบร้อยเสียก่อนลงมือทำงานนะครับ

 

ข้อที่ 2 พิจารณาถึงเรื่อง ระยะเวลา เครื่องมือและยานพาหนะที่จะนำมาใช้ในการทำงานการขุดดิน หรือ ถมดินว่า ทั้ง 3 เงื่อนไขข้างต้นนี้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกันมากหรือน้อยเพียงใดเพราะหากทั้ง 3 เงื่อนไขนี้ไม่สอดคล้องซึ่งกันและกันก็จะเป็นไปได้ยากมากที่จะทำการขุดดิน หรือ ถมดินให้สำเร็จได้ตามเป้าหมายที่ได้วางแผนกันเอาไว้นะครับ

 

ข้อที่ 3 พิจารณาถึงเรื่อง เงื่อนไขและเรื่องราวต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันและอาจจะมีความเกี่ยวข้องกันกับการทำงานการขุดดิน หรือ ถมดิน เช่น หากมีการถมดินบนพื้นที่ๆ มากกว่า 2000 ตารางเมตร หรือ ขนาดของพื้นที่ตามที่ได้มีการออกประกาศเอาไว้โดยเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่นนั้นๆ และดินถมในสถานที่ก่อสร้างนั้นๆ จะมีระดับสุดท้ายสูงกว่าพื้นที่ๆ อยู่ในบริเวณข้างเคียงเราจะต้องทำการจัดการให้สามารถมีการระบายน้ำได้อย่างเพียงพอและเหมาะสมต่อผู้คนที่อาจจะอาศัยหรืออยู่ในบริเวณพื้นที่ข้างเคียงสถานที่ก่อสร้างของเรา หรือ หากทำการขุดดินไปแล้วเกิดพบว่าบริเวณใต้ดินนั้นมีโบราณหรือศิลปวัตถุ เรามีหน้าที่ๆ จะต้องทำการแจ้งหรือรายงานไปยังเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่นนั้นๆ ภายในระยะเวลา 7 วัน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ในท้องถิ่นนั้นๆ ได้ทำการแจ้งไปยังหน่วยงานต้นสังกัดต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับสิ่งที่อาจจะพบอาทิเช่น สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม หรือ หากในสถานที่ก่อสร้างนั้นๆ จะเป็นการถมด้วยดินถมใหม่เสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นเราจะต้องทำการจด ทำการบันทึก ทำการเก็บข้อมูลในเชิงรูปภาพ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ทราบถึงลักษณะของสภาพชั้นดินก่อนหน้าการถมดินเอาไว้ให้ได้มากที่สุดเพราะประเด็นดังกล่าวนี้จะมีผลต่อเรื่องคุณสมบัติของชั้นดินที่แน่นอนว่าจะมีความแตกต่างกันระหว่างชั้นดินเดิมและชั้นดินถมใหม่ เป็นต้นนะครับ

 

ทั้ง 3 วิธีข้างต้นที่ผมได้นำเอามาฝากแก่เพื่อนๆ นั้นเป็นเพียงวิธีการหลักๆ วิธีการคร่าวๆ ที่เพื่อนๆ อาจจะนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานการขุดดิน หรือ ถมดิน ซึ่งแน่นอนว่าในการทำงานการขุดดิน หรือ ถมดินจริงๆ นั้นเพื่อนๆ ย่อมที่จะต้องประสบพบเจอเข้ากับปัญหาหรืออุปสรรคในการทำงานการขุดดิน หรือ ถมดินอื่นๆ นอกเหนือไปจากที่ผมได้นำมากล่าวถึงข้างต้นอีกมากมาย ซึ่งเราก็ต้องทำการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นเป็นกรณีๆ ไปนั่นเองนะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์วันพฤหัสบดี

#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็ม

#เทคนิคง่ายง่ายในการทำงานการขุดดินหรือถมดิน

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com