วิธีในการคำนวณอย่างง่ายหรือ SIMPLFY METHOD พร้อมกับข้อจำกัดในการใช้งานต่างๆ

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมยังจำเป็นที่จะต้องขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนอยู่นะครับ

ตามที่ผมได้แจ้งเอาไว้ตั้งแต่เมื่อวานว่าวันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการพูดถึงประเด็นที่ผมได้ตอบคำถามของรุ่นน้องวิศวกรท่านหนึ่งซึ่งผมได้อธิบายมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาแล้วและวันนี้ น่าที่จะ เป็นโพสต์สุดท้ายของการตอบคำถามข้อนี้แล้ว โดยที่ผมจะนำเอาวิธีในการคำนวณอย่างง่ายหรือ SIMPLFY METHOD พร้อมกับข้อจำกัดในการใช้งานต่างๆ ของเจ้าวิธีการนี้มาอธิบายให้แก่เพื่อนๆ ทุกคน สำหรับกรณีที่เพื่อนๆ ของเราหลายๆ คนอาจที่จะบอกว่า จะทำอย่างไรดี อยากที่จะทำสามารถทำการคำนวณได้ด้วยมือเพราะไม่ค่อยที่จะสะดวกใช้จุดรองรับแบบสปริงและวิเคราะห์ด้วยซอฟต์แวร์ทางไฟไนต์อีลีเมนต์เหมือนกับที่ผมได้อธิบายและยกตัวอย่างไปนะครับ

 

ทั้งนี้ผมขอเริ่มต้นโดยขอให้เพื่อนๆ ทุกคนนั้นดูรูปรายการคำนวณสั้นๆ ในโพสต์ๆ นี้ประกอบคำอธิบายของผมก่อนก็แล้วกันนะครับ

 

ปล ช่วง 2-3 วันนี้ผมพาครอบครัวมาพักผ่อนที่พัทยาทำให้ไม่สะดวกในหลายๆ เรื่องแต่อย่างไรก็ดีผมต้องขอขอบคุณทางโรงแรมที่พักด้วยที่ได้จัดให้มีพื้นที่ส่วนกลางและช่วยอำนวยความสะดวกให้ในหลายๆ เรื่องเพื่อให้แขกที่มาพักสามารถใช้นั่งทำงานได้ด้วยนะครับ ไว้กลับไป กทม จะเขียนรีวิวให้ครับ

 

สิ่งแรกที่เพื่อนๆ จะต้องทำความเข้าใจก่อนก็คือ วิธีการนี้จะสามารถนำมาใช้ได้ก็ต่อ

 

  1. จุดรองรับนั้นเป็นแบบที่สามารถที่จะเสียรูปได้หรือ FLEXIBLE SUPPORT ดังนั้นหากว่าจุดรองรับนั้นเป็นแบบที่ไม่สามารถที่จะเสียรูปได้หรือ RIGID SUPPORT วิธีการนี้จะไม่ถือว่า VALID ในการนำมาใช้งานนะครับ

 

  1. วิธีการนี้จะให้คำตอบที่มีความแม่นตรงก็ต่อเมื่อ โครงสร้างของพื้น คาน หรือ ฐานราก ที่ทำหน้าที่รับน้ำหนักข้างบนจะต้องมีหน้าตัดที่มีลักษณะเป็นแบบแข็งแรงมากๆ หรือพูดง่ายๆ คือต้องมีหน้าตัดที่เป็นแบบ RIGID BODY

 

  1. หากว่าหน้าตัดของเราไม่ได้มีความเป็น RIGID BODY ตามที่ผมได้อธิบายไปในข้อที่ 2 ก็ถือได้ว่าไม่เป็นไร เรายังคงสามารถที่จะนำเอาวิธีการๆ นี้มาใช้ในการคำนวณด้วยมือได้เพราะสุดท้ายค่าผลตอบสนองของโครงสร้างที่เราได้จากการวิเคราะห์โครงสร้างก็จะถือว่ามีค่า มากกว่า คำตอบที่ได้จากการพิจารณาให้จุดรองรับนั้นเป็นแบบที่ไม่สามารถที่จะเสียรูปได้ หรือ มากกว่าคำตอบในกรณีที่เราทำการจำลองให้จุดรองรับนั้นเป็นแบบที่สามารถที่จะเสียรูปได้แต่ว่าหน้าตัดนั้นไม่มีคุณสมบัติความเป็น RIGID BODY เพียงแค่เราต้องพึงระลึกเอาไว้เสมอว่าคำตอบที่ได้จากการใช้วิธีการนี้จะมีความคลาดเคลื่อนออกไปจากคำตอบจริงๆ ที่ควรจะได้ ส่วนค่าความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นนี้จะมากหรือน้อยนั้นก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่างประกอบกันครับ

 

เอาละ ผมได้อธิบายถึงข้อจำกัดในการใช้งานไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผมคิดว่าเราน่าจะมาเริ่มต้นดูวิธีในการคำนวณเพื่อที่จะทำการวิเคราะห์โครงสร้างกันเลยดีกว่านะครับ

 

เริ่มต้นจากการตั้งสมมติฐานก่อนว่า โครงสร้างพื้น คาน หรือ ฐานราก ที่ทำหน้าที่รับน้ำหนักนั้นมีความเป็น RIGID BODY ซึ่งจะทำให้แรงปฏิกิริยา ณ จุดรองรับทุกๆ จุดนั้นมีค่าที่เท่าๆ กันทั้งหมด ดังนั้นจากการคำนวณค่าน้ำหนักบรรทุกในแนวดิ่งทั้งหมดที่กระทำบนพื้นจะมีค่าเท่ากับ

 

TOTAL LOAD = (Ws) x (Ls) x (Nos. of Ls)

TOTAL LOAD = 1000 x 2 x 4

TOTAL LOAD = 8000 KGF/STRUCTURE

 

ดังนั้นค่าของแรงปฏิกิริยา ณ จุดรองรับทุกๆ จุดของโครงสร้างนั้นก็จะมีค่าเท่ากับ

 

P = (TOTAL LOAD) / (Nos. of Support)

P = 8000 / 5

P = 1600 KGF/SUPPORT

 

จากนั้นเราก็นำค่าน้ำหนักบรรทุกในแนวดิ่งทั้งหมดที่กระทำบนพื้นกับค่าของแรงปฏิกิริยา ณ จุดรองรับทุกๆ จุดของโครงสร้างมาทำการวิเคราะห์โครงสร้างโดยการเขียน แผนภาพแรงเฉือน หรือ SHEAR FORCE DIAGRAM และ แผนภาพแรงดัด หรือ BENDING MOMENT DIAGRAM ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยครับ

 

เป็นอย่างไรบ้างครับ ? ง่ายจนน่าตกใจเลยใช่หรือไม่ครับ ? ถ้าเพื่อนๆ ดูคำตอบของการวิเคราะห์โครงสร้างก็จะพบว่า ผลตอบสนองของโครงสร้างอย่างค่าแรงดัดที่ได้จากการวิเคราะห์โครงสร้างตามวิธีการนี้จะให้รูปแบบของการดัด การแอ่นตัวซึ่งรวมไปถึง CURVATURE ของคานเป็นไปตามรูปแบบที่ผมได้ทำการยกตัวอย่างไปเมื่อวานนี้ ซึ่งได้ทำการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยซอฟต์แวร์ทางไฟไนต์อีลีเมนต์ แต่ ค่าของคำตอบทีได้นั้นก็จะมีค่าที่สูงกว่าตามที่ผมได้แจ้งไปก่อนหน้านี้ เช่น คำตอบของค่าแรงดัดที่ได้จะมีค่าเท่ากับ 1920 KGF-M ซึ่งก็จะมากกว่าค่าแรงดัดที่ได้จากการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยซอฟต์แวร์ทางไฟไนต์อีลีเมนต์ซึ่งมีค่าเท่ากับ 1231 KGF-M เป็นต้นครับ

 

ซึ่งความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นนั้นเพื่อนๆ ก็จะเห็นได้ว่า คำตอบที่ได้จากการใช้วิธีการอย่างง่ายนั้นจะมีค่ามากกว่าคำตอบจริงๆ อยู่ที่ประมาณ 1.50 เท่า ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วการที่ได้คำตอบที่มากกว่าความเป็นจริงก็ถือได้ว่าเป็นที่ยอมรับได้เพราะจะทำให้การออกแบบนั้นมีความ CONSERVATIVE ซึ่งผลเสียที่เกิดขึ้นก็คือ ทำให้สิ้นเปลืองโครงสร้างมากกว่าที่จำเป็น และ ไม่สามารถที่จะทราบได้จริงๆ ว่าโครงสร้างของเรานั้นจะมีค่าการเสียรูป ณ ตำแหน่งของจุดรองรับทุกๆ จุดนั้นเท่ากับเท่าใด มีค่า น้อยกว่า หรือ มากกว่า ค่าการเสียรูปที่ยอมให้ของโครงสร้างหรือไม่นั่นเองครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ

#ปัญหาเหตุใดจึงต้องทำการจำลองให้จุดรองรับนั้นเป็นแบบที่ไม่มีการเสียรูปกับแบบที่สามารถมีการเสียรูปได้ครั้งที่3

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com