การออกแบบวิศวกรรมงานดินและฐานราก (GEOTECHNICAL & FOUNDATION ENGINEERING DESIGN หรือ GFE)

การออกแบบวิศวกรรมงานดินและฐานราก (GEOTECHNICAL & FOUNDATION ENGINEERING DESIGN หรือ GFE) 

1micropile-spun-micro-spunmicropile-สปันไมโครไพล์-bsp-ไมโครไพล์

การเลือกวิธีในการวางเสาเข็มในโรงสร้างฐานราก F6 และ มีเพื่อนๆ หลายๆ คนสอบถามเข้ามาว่า ประเด็นในเรื่องของความแตกต่างระหว่างแรงอัดตามแนวแกน ค่าสูงสุด กับ ค่าต่ำสุด นั้นมีผลเยอะขนาดไหนในการออกแบบฐานราก ? ดังนั้นวันนี้ผมจึงอยากที่จะขออนุญาตมาพูดถึงหัวข้อนี้ก็แล้วกันนะครับ

หากเรามอง เสาเข็ม ให้เป็น สปริง หนึ่งอัน ซึ่งแน่นอนว่า สปริงจะมีค่าความแข็งแกร่ง (SPRING’S STIFFNESS) เท่ากับ สัดส่วนระหว่าง ค่าของแรง ต่อ ค่าของการเสียรูปที่เกิดขึ้น หรือเขียนในรูปแบบสมการได้ว่า

K = F / ∆ ———- (1)

ซึ่งเอาจากปัญหาข้อที่ผมพูดถึงก็ได้ เพราะ F ก็คือ ค่าของแรง ซึ่งจะมีค่าเท่ากับ 25 T/PILE หรือ 25000 KGF/PILE ส่วน ∆ ก็คือ ค่าของการเสียรูป ซึ่งในกรณีที่เราต้องการที่จะป้องกันมิให้โครงสร้างนั้นเกิดการทรุดตัวที่มีความแตกต่างกัน (DIFFERENTIAL SETTLEMENT) เราก็จะกำหนดให้ระยะการเสียรูปของเสาเข็มนั้นเกิดขึ้นได้มากที่สุดไม่เกิน 25 MM ดังนั้น ค่าความแข็งแกร่งของสปริง จะมีค่าเท่ากับ

K = 25000 / 25
K = 1000 KGF/MM

จากปัญหานั้นเราจะทราบค่าความแตกต่างระหว่างแรงอัดตามแนวแกน ค่าสูงสุด กับ ค่าต่ำสุด ในเสเข็มของแต่ละฐานราก หรือ ค่า dF ดังนั้นหากจะทำการคำนวณให้ค่าดังกล่าวมีความสัมพันธ์กันกับค่าความแข็งแกร่งของสปริงก็จะสามารถนำสมการที่ (1) มาเขียนในรูปแบบของสมการใหม่ได้ว่า

K = dF / d∆
d∆ = dF / K ———- (2)

ซึ่งค่า d∆ ในสมการที่ (2) ก็คือ ความแตกต่างระหว่างค่าการทรุดตัวที่เสาเข็มในหนึ่งฐานรากนั้นจะมีนั่นเองนะครับ

ในฐานราก F6(A) นั้นจะมีค่า dF เท่ากับ 20 T หรือ 20000 KGF ดังนั้น ความแตกต่างระหว่างค่าการทรุดตัวที่เสาเข็มจะมีในหนึ่งฐานราก จะมีค่าเท่ากับ

d∆ = 20000 / 1000
d∆ = 20 MM

ส่วนฐานราก F6(B) นั้นจะมีค่า dF เท่ากับ 10.48 T หรือ 10480 KGF ดังนั้น ความแตกต่างระหว่างค่าการทรุดตัวที่เสาเข็มจะมีในหนึ่งฐานราก จะมีค่าเท่ากับ

d∆ = 10480 / 1000
d∆ = 10.48 ≈ 10 MM

จะเห็นได้ว่า ความแตกต่างระหว่างค่าการทรุดตัวของเสาเข็มในหนึ่งฐานรากของฐานรากทั้งสองนั้นจะมีค่าแตกต่างกันถึงประมาณ 2 เท่า คือ 20 MM หรือ 2 CM ซึ่งจะเป็น 2 เท่าของ 10 MM หรือ 1 CM ซึ่งสำหรับงานวิศวกรรมธรณีเทคนิคแล้วถือได้ว่าค่าๆ นี้เป็นค่าที่มากเอาเรื่องอยู่นะครับ เพราะ สุดท้ายแล้วเรื่องนี้ก็จะถูกโยงกลับมาที่คอนเซ็ปต์ในการออกแบบที่เราจะต้องทำการกำหนดให้คุณสมบัติของฐานรากนั้นควรที่จะมี นั่นก็คือ คุณสมบัติทางด้านพฤติกรรมการเสียรูปในแบบที่เท่าๆ กันหมดทั้งโครงสร้าง (RIGID BODY BEHAVIOR) ซึ่งการเสียรูปในรูปแบบๆ นี้ก็คือ การที่โครงสร้างหนึ่งๆ จะต้องเกิดการเสียรูปไปในปริมาณและทิศทางที่เท่าๆ กัน ดังนั้นถ้าหากว่าเสาเข็มของเรานั้นเกิดค่าการทรุดตัวที่ ไม่เท่ากัน ที่มากๆ เหมือนเช่นในกรณีของ F6(A) แล้วพฤติกรรม คำถามที่น่าสนใจก็คือ โครงสร้างฐานรากของเรานั้นจะยังคงมีพฤติกรรมที่สอดคล้องกันกับพฤติกรรมข้างต้นอยู่หรือไม่ ?

เราควรที่จะต้องระลึกอยู่เสมอว่า พฤติกรรมในตอนที่ทำการออกแบบโครงสร้าง นั้นเป็นเช่นไร วิธีในการทำงานก่อสร้าง ก็ควรที่จะต้องมีความสอดคล้องซึ่งกันและกันด้วยเสมอ ดังนั้นเราจะยึดถือเอาตามใจฉัน เอาตามความประหยัด เอาตามความยากหรือง่ายในการก่อสร้าง เพียงอย่างเดียวไม่ได้ เพื่อนๆ ก็ลองนำข้อเท็จจริงเหล่านี้ที่ผมได้ทำการเล่าให้ฟังไปในวันนี้ ไปทำการคิดวิเคราะห์และหาคำตอบกันต่อก็แล้วกันนะครับ

Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun Micro Pile
1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สมอ.
4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ?
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
Mr.MicroPile
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
063-889-7987
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449