วัสดุหลักที่เรานิยมนำมาใช้ในการก่อสร้าง โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก และ โครงสร้างเหล็ก

Mr.เสาเข็ม มาแล้วครับ มาพร้อมสาระความรู้เกี่ยวกับการก่อสร้างและวิศวกรรม กันอีกเช่นเคยนะครับ วันนี้ จะเป็นหัวข้อเรื่อง วัสดุหลักที่เรานิยมนำมาใช้ในการก่อสร้าง โครงสร้าง คสล และ โครงสร้างเหล็ก

steel concrete

วัสดุหลักที่เรานิยมนำมาใช้ในการก่อสร้าง โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก และ โครงสร้างเหล็ก ซึ่งได้แก่วัสดุเหล็ก (STEEL MATERIAL) และ วัสดุคอนกรีต (CONCRETE MATERIAL) นั่นเองนะครับ

ทั้ง เหล็ก (STEEL) และ คอนกรีต (CONCRETE) ล้วนแล้วแต่เป็นวัสดุที่ถูกนำมาใช้กันมากในงานทางด้านวิศวกรรมโยธา โดยที่วัสดุดังกล่าวนี้จะมีแผนภาพเส้นโค้งหน่วยแรง-ความเครียด (STRESS-STRAIN CURVE DIAGRAM) ดังที่แสดงในรูป (a) และ (b) ที่ผมได้แนบมาด้วยนะครับ

วัสดุเหล็ก (STEEL MATERIAL)

ซึ่งโดยทั่วไปแล้วค่าหน่วยแรงคราก (YIELDING STRESS) หรือ σy ของเหล็กเหนียว (MILD STEEL) จะมีค่าอยู่ในช่วงประมาณ 2500 KSC และสำหรับเหล็กกำลังสูง (HIGH STRENGTH STEEL) ค่า σy ของเหล็กจะมีค่าสูงถึง 7000 KSC เลยนะครับ สำหรับกรณีที่เป็นเหล็กเหนียว เหล็กจะมีจุดคราก (YIELDING POINT) ที่ค่อนข้างจะชัดเจน แต่ สำหรับเหล็กกำลังสูงกลับพบว่าจะมีจุดครากที่จะไม่ชัดเจนนักนะครับ

หมายเหตุ หน่วย KSC คือ KILOGRAM FORCE PER SQUARE CENTIMETER หรือ กิโลกรัม ต่อ ตารางเซนติเมตร นะครับ

ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเราสามารถที่จะหาจุดครากของเหล็กกำลังสูงได้โดยใช้วิธีการ OFFSET เส้นโค้งของค่าหน่วยแรงออกไปเท่ากับร้อยละ 0.20 โดยเมื่อหน่วยแรงที่เกิดขึ้นในเหล็กนั้นมีค่าน้อยกว่า YIELDING STRESS แล้ว เรามักที่จะสมมุติให้เหล็กนั้นมีพฤติกรรมเป็นแบบยืดหยุ่นเชิงเส้นแบบตรง (LINEARLY ELASTIC) เหล็กนั้นจะมีค่าโมดูลัสยืดหยุ่น (MODULUS OF ELASTICITY) หรือค่า E ประมาณ 20×10^(6) KSC และ จะมีค่าอัตราส่วนปัวซองต์ (POISSON’S RATIO) หรือ ν ประมาณ 0.30 โดยที่ลักษณะของแผนภูมิเส้นโค้งหน่วยแรง-ความเครียด (STRESS-STRAIN CURVE DIAGRAM) ของ เหล็ก จะมีลักษณะเหมือนกับที่แสดงในรูป (a) ที่ผมได้แนบมาด้วยนะครับ

วัสดุคอนกรีต (CONCRETE MATERIAL)

ค่าหน่วยแรงอัดประลัย (ULTIMATE COMPRESSIVE STRESS) หรือ σu ของคอนกรีตชนิดทั่วๆ ไป (NORMAL CONCRETE) จะมีค่าอยู่ในช่วง 210 KSC ถึง 550 KSC นะครับ

โดยที่คุณสมบัติทางกลของวัสดุที่เป็นคอนกรีตนั้นจะมีความไม่แน่นอนมากกว่าคุณสมบัติทางกลของวัสดุที่เป็นเหล็กนะครับ โดยที่คอนกรีตมักจะมีพฤติกรรมเป็นแบบ LINEAR ELASTIC ก็ต่อเมื่อหน่วยแรงที่เกิดขึ้นในคอนกรีตนั้นมีค่าน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของค่ากำลังอัดประลัยเท่านั้นนะครับ

โดยที่คอนกรีตนั้นจะมีค่าโมดูลัสยืดหยุ่น (MODULUS OF ELASTICITY) หรือค่า E ที่ขึ้นกับค่าหน่วยแรงอัดประลัยนะครับ โดยจะมีค่าประมาณ E = 15100√fc’ และค่าอัตราส่วนปัวซองต์ (POISSON’S RATIO) หรือ ν ประมาณ 0.15 โดยที่ลักษณะของแผนภูมิเส้นโค้งหน่วยแรง-ความเครียด (STRESS-STRAIN CURVE DIAGRAM) ของ คอนกรีต จะมีลักษณะเหมือนกับที่แสดงในรูป (b) ที่ผมได้แนบมาด้วยนะครับ

โดยขอหมายเหตุไว้ตรงนี้สักเล็กน้อยนะครับว่า วัสดุคอนกรีตจะมีคุณสมบัติพิเศษที่ผู้ออกแบบควรที่จะต้องพึงระลึกถึงอยู่เสมอก็คือ การคืบ (CREEP) โดยที่คอนกรีตจะสามารถเกิดการคืบได้ก็ต่อเมื่อตัวคอนกรีตนั้นถูกกระทำโดยหน่วยแรงอัด (COMPRESSIVE STRESS) เป็นระยะเวลานานๆ นะครับ

ผมก็หวังว่าการที่ผมได้ทำการอธิบายให้แก่เพื่อนๆ ได้ทราบเกี่ยวกับเรื่องพื้นฐานทางด้านกำลังของวัสดุไปนี้จะทำให้ทุกๆ ท่านสามารถที่จะมีพื้นฐาน และ เข้าใจถึงหลักการของเรื่องๆ นี้ได้ในระดับหนึ่งนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ref : https://www.facebook.com/bhumisiam

BSP-Bhumisiam
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
2) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand
รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
6) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449