วิธีการที่ต่อยอดนำเอาวิธี CASTIGLIANO’S 2’ND THEOREM กับการก่อสร้าง

วิธีการที่ต่อยอดนำเอาวิธี CASTIGLIANO’S 2’ND THEOREM กับการก่อสร้าง

ไมโครไพล์

พบกันอีกครั้งนะครับ เนื่องจากเมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมได้ทำการอธิบายถึงวิธีในการคำนวณหาค่าระยะการเสียรูปของ โครงสร้างต่างๆ โดยวิธี CASTIGLIANO’S 2’ND THEOREM ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นในวันนี้ผมจะขออนุญาตที่จะขึ้นเรื่องใหม่ซึ่งเรื่องใหม่เรื่องนี้ก็ยังคงมีความเกี่ยวพันธ์กับเรื่องๆ เดิมนี้อยู่นะครับ นั่นก็คือ การนำเอาวิธีการ LEAST WORK ซึ่งเป็นวิธีการที่ต่อยอดนำเอาวิธี CASTIGLIANO’S 2’ND THEOREM มาประยุกต์ใช้งานสำหรับการแก้ปัญหางานวิศวกรรมโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นแบบ STATICALLY INDETERMINATE  

ก่อนที่ผมจะได้เริ่มต้นทำการเกริ่นนำในรายละเอียดของหัวข้อๆ นี้ผมจึงอยากจะขอทำการทดสอบดูสักนิดนะครับว่า เพื่อนๆ ทุกคนนั้นมีความรู้พื้นฐานทางด้านการวิเคราะห์โครงสร้างมีลักษณะเป็นแบบ STATICALLY INDETERMINATE มากหรือน้อยเพียงใด โดยที่ปัญหาที่ผมจะหยิบยกและนำมาเป็นคำถามประจำสัปดาห์ในวันนี้มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ครับ

ในรูปๆ นี้จะเป็นรูปโครงสร้างคานที่มีลักษณะเป็นแบบ STATICALLY INDETERMINATE โดยที่คานๆ นี้จะมีปลายข้างหนึ่งนั้นถูกยึดรั้งเข้าที่จุดต่อแบบเชื่อมแน่น หรือ FIXED SUPPORT ส่วนปลายอีกด้านนั้นจะถูกวางตัวอยู่บนจุดรองรับแบบไถลตัวได้ในแนวด้านที่ขนานกันกับจุดรองรับ หรือ ROLLER SUPPORT โดยที่คานๆ นี้จะมีการรับแรงหรือน้ำหนักบรรทุกในแนวดิ่งทั้งหมด 2 แรงด้วยกันนั่นก็คือ น้ำหนักกระทำแบบแผ่กระจายตัวสม่ำเสมอในแนวดิ่งหรือว่า VERTICAL UNIFORMLY DISTRIBUTED LOAD ในระหว่างจุดต่อ A ถึง B ซึ่งจะมีค่าเท่ากับ 8 T/M โดยที่แรงๆ นี้จะกระทำในทิศทางลง และ มีน้ำหนักกระทำแบบจุดในแนวดิ่งหรือว่า VERTICAL CONCENTRATED LOAD ที่ตำแหน่งจุด C หรือพูดง่ายๆ ก็คือที่ตำแหน่งจุดกึ่งกลางความยาวของคานซึ่งมีค่าเท่ากับ 8 เมตร ซึ่งก็จะมีค่าเท่ากับ 16 T โดยที่แรงๆ นี้จะกระทำในทิศทางลง หากว่าผมทำการกำหนดให้ค่าอัตราส่วนการคูณกันระหว่างค่าโมดูลัสยืดหยุ่นของวัสดุกับค่าโมเมนต์ความเฉื่อยของหน้าตัดหรือว่าค่า EI นั้นมีค่าคงที่ตลอดทั้งความยาวของคาน ผมอยากจะขอให้เพื่อนๆ ทุกคนนั้นได้ช่วยกันทำการคำนวณหาว่า ค่าแรงปฏิกิริยาต่างๆ ณ จุดรองรับทุกๆ จุดภายในโครงสร้างๆ นี้จะมีค่าเท่ากับเท่าใด ?

ปล จริงๆ แล้วปัญหาข้อนี้จะเหมาะสำหรับคนที่เป็นวิศวกรโยธาโดยเฉพาะวิศวกรโครงสร้างแต่หากว่าเพื่อนๆ ท่านใดที่ไม่ได้อยู่ในสายงานดังกล่าวแต่อยากที่จะทดลองทำการคำนวณหาคำตอบดู ผมก็ขอเชิญชวนเพื่อนๆ ทุกๆ ท่านให้มาร่วมสนุกตอบคำถามข้อนี้ไปพร้อมๆ กันนะครับ

ยังไงเพื่อนๆ อย่าลืมนะครับ กติกาของการร่วมสนุกในเกมๆ นี้คือก่อนที่จะตอบ เพื่อนๆ จะต้องแจ้งอีเมลล์ของเพื่อนๆ ก่อนเสมอนะครับ มิเช่นนั้นผมจะถือว่าผิดกติกานะครับ ทั้งนี้เพื่อนๆ ยังสามารถที่จะให้เหตุผลต่างๆ หรือ อาจจะทำการสเก็ตช์ภาพประกอบคำตอบเพื่อใช้อธิบายเพิ่มเติมได้ แล้วยังไงวันพรุ่งนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการเฉลยคำถามข้อนี้ให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนได้รับทราบพร้อมๆ กันนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

 

 


Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun Micro Pile
1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สมอ.
4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ?
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
Mr.MicroPile
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
063-889-7987
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449