ปัญหาของการทำงานโครงสร้างเหล็กที่เกี่ยวข้องกันกับเรื่อง รอยเชื่อม ที่ทั้ง ดี และ ไม่ดี | ไมโครไพล์ ภูมิสยามฯ

ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ

ไมโครไพล์ education knowledge เสาเข็มไมโครไพล์ ไมโครไพล์ education knowledge เสาเข็มไมโครไพล์ ไมโครไพล์ education knowledge เสาเข็มไมโครไพล์

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

เนื่องจากที่ก่อนหน้านี้ผมได้เคยนำเสนอถึงเนื้อหาต่างๆ เกี่ยวกับปัญหาของการทำงานโครงสร้างเหล็กที่เกี่ยวข้องกันกับเรื่อง รอยเชื่อม ที่ทั้ง ดี และ ไม่ดี ให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนไปแล้วแต่ก็ยังมิวายมีเพื่อนๆ ของผมหลายๆ คนยังอินบ็อกซ์กันเข้ามาสอบถามผมว่า อยากที่จะเห็นตัวอย่างของรอยเชื่อมเหล่านี้ว่าแบบ ดี และ ไม่ดี นั้นเป็นอย่างไร ?

วันนี้ผมจึงจะขออนุญาตนำรูปภาพของรอยเชื่อมที่ทั้ง ดี และ ไม่ดี มาฝากเพื่อนๆ พร้อมกับอธิบายเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้พอสังเขป คือ จริงๆ แล้วต้องเข้าใจก่อนว่า รอยเชื่อมนั้นมีหลากหลายประเภทมากๆ เช่น การเชื่อมแบบต่อชน การเชื่อมแบบต่อทาบ เป็นต้น ดังนั้นในเมื่อเป็นรอยเชื่อมที่ต่างชนิดกัน รอยเชื่อมจากการทำการเชื่อมแต่ละแบบเหล่านี้ก็ย่อมที่จะมีลักษณะภายนอกที่แตกต่างกันด้วยนะครับ

ดังนั้นการที่จะทำการสำรวจรอยเชื่อมต่างๆ เหล่านี้ด้วยสายตาหรือที่เรานิยมเรียกกันว่า VISUAL INSPECTION ย่อมเป็นเรื่องที่ยากมากๆ และบางครั้งอาจจะต้องบอกว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย แต่ พูดมาถึงตรงนี้ก็อย่างเพิ่งตกอกตกใจกันไป เพราะ วันนี้ผมมีวิธีการสำรวจรอยเชื่อมที่ง่ายๆ และตรงไปตรงมาๆ ฝากแก่เพื่อนๆ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้เพื่อนๆ นั้นสามารถที่จะนำหลักการเหล่านี้ใช้ในการสังเกตคุณภาพของรอยเชื่อมประเภทต่างๆ ได้นั่นก็คือ

1.รอยเชื่อมที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการต่อเชื่อมแบบใดก็ตาม ก็มักที่จะมีแนวของรอยเชื่อมที่ต่อเนื่องตลอดทั้งความยาวของรอยเชื่อม

2.รอยเชื่อมที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการต่อเชื่อมแบบใดก็ตาม ก็มักที่จะมีขนาดของความหนาของขารอยเชื่อมที่คงที่เท่ากันตลอดทั้งความยาวของรอยเชื่อม

3.รอยเชื่อมที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการต่อเชื่อมแบบใดก็ตาม ก็มักที่จะมีสีและความเรียบร้อยในการเชื่อมที่สม่ำเสมอตลอดทั้งความยาวของรอยเชื่อม

ไมโครไพล์ education knowledge เสาเข็มไมโครไพล์

สรุปคือ หากไม่ได้มีการสำรวจรอยเชื่อมโดยวิศวกรงานเชื่อมจริงๆ และจำเป็นที่จะต้องทำการสำรวจรอยเชื่อมกันด้วยตาเปล่าจริงๆ ผมขอแนะนำให้ดู 3 เรื่องข้างต้นเป็นหลักก็แล้วกัน หากทำการสำรวจแล้วพบว่าจากทั้ง 3 รายการข้างต้นมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ผิดปกติออกไปก็ขอแนะนำว่าควรที่จะเรียกวิศวกรงานเชื่อมหรือผู้เชี่ยวชาญมาทำการตรวจสอบรอยเชื่อมดังกล่าวจะเป็นการดีที่สุดครับ

 

ไมโครไพล์ education knowledge เสาเข็มไมโครไพล์ ไมโครไพล์ education knowledge เสาเข็มไมโครไพล์ ไมโครไพล์ education knowledge เสาเข็มไมโครไพล์

ปล ต้องขอขอบคุณภาพประกอบสวยๆ ที่ผมได้ทำการรวบรวมมาจากในอินเตอร์เน็ตซึ่งผมได้นำมาฝากให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนได้รับชมกันในโพสต์ๆ นี้ด้วยนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์ของวันอังคาร
#ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ
#ปัญหาการสังเกตว่ารอยเชื่อมใดที่มีคุณภาพที่ดีและไม่ดีด้วยการสำรวจด้วยสายตา ADMIN JAMES DEAN


Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun Micro Pile
1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สมอ.
4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ?
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
063-889-7987
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449