การเสริมกำลังในโครงสร้างของคาน คสล

17800257_1350522841660504_8769602042290333146_n1

 

ref :  https://www.facebook.com/bhumisiam

 

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
สืบเนื่องจากเมื่อวันก่อนที่ผมได้ไปฟังการบรรยายเกี่ยวกับเรื่อง การออกแบบโครงสร้างพิเศษ โดยท่าน อ ดร สมพร อรรถเศรณีวงศ์ และทีมงาน MICROFEAP
ผมพบว่าเนื้อหาในการบรรยายของท่าน อ มีประโยชน์มากๆ ครับ บางเรื่องก็เป็นการตอกย้ำความรู้พื้นฐานที่ผมมีอยู่แล้วว่าสำคัญเพียงใด บางเรื่องก็เป็นการต่อยอดและพัฒนาทักษะและความรู้เดิมที่ผมนั้นมีให้ก้าวไกลไปได้อีกมากโข สำคัญที่สุด คือ ความคิดและคำสอนส่วนตัวของท่าน ดร ที่สอดแทรกอยู่ตลอดในทุกๆ ช่วงของการบรรยาย ซึ่งผมมองว่าหาไม่ได้จากที่ไหนแล้วละครับ
โดยสรุปนะครับ ผมพบว่าเนื้อหาเหล่านี้น่าสนใจมากๆ ครับ ในการบรรยายครั้งต่อไปของทางชมรมผมจึงอยากใคร่ขอเรียนเชิญวิศวกรและประชาชนทั่วๆ ไปผู้ที่มีความสนใจทุกๆ ท่านด้วยนะครับ
วันนี้ผมจึงคิดว่าเพื่อเป็นวิทยาทานแก่เพื่อนๆ ที่อาจพลาดหรือไม่มีโอกาสได้เข้าฟังการอบรมเมื่อวันก่อน ผมจึงอยากจะขอนำเนื้อหาวิชาที่ท่าน ดร ได้แนะนำแก่พวกเราทุกๆ คนในวันนั้นแก่เพื่อนๆ ในเฟซบุ้คด้วยนะครับ อาจจะไม่ดีเท่าที่อาจารย์ได้ทำการสอนไป แต่ ผมจะพยายามถ่ายทอดออกไปอย่างดีที่สุดนะครับ
เรื่องนี้คือเรื่องการเสริมกำลังในโครงสร้างของคาน คสล เดิม โดยในเนื้อหาของท่าน อ ได้แนะนำให้ทำการเสริมกำลังด้วยคาน H-BEAM ใต้ท้องคาน คสล เดิม โดยไม่แนะนำให้ทำการวางทาบไปที่ใต้ท้องเลย แต่ แนะนำให้มีระยะยึดโยงลงมาเล็กน้อย โดยที่การยึดโดยงลงมาท่านอาจารย์แนะนำว่าให้ใช้ LINK BAR เป็นตัวเชื่อม ซึ่ง LINK BAR ตัวนี้ควรเป็นเหล็ก ไม่ควรเป็นวัสดุจำพวกคอนกรีต เช่น NON-SHRINK เป็นต้น
ผมขอสรุปข้อดีของคำแนะนำของท่านอาจารย์ดังต่อไปนี้นะครับ
(1) วิธีที่ท่านอาจารย์ได้แนะนำนั้นเป็นวิธีการที่ถูกต้อง และ เหมาะสมกับสภาพหน้างานที่ต้องทำการต่อเติมมากๆ วึ่งในหลายๆ ครั้งหากเราต้องทำงานต่อเติมเราจะพบข้อจำกัดต่างๆ มากมาย ซึ่งหากจะทำ ก็ควรที่จะอาสัยวิธีการที่ท่านอาจารย์ได้แนะนำไว้จะเป็นการดีที่สุดครับ
เนื้อหาในการบรรยายตรงนี้ผมติดใจอยู่นิดนึงว่า ในการตรวจสอบค่า DISPLACEMENT ท่านอาจารย์ได้ใช้ค่า DISPLACEMENT ที่คำนวณโดยตรงจากในโปรแกรมเลย ซึ่งหมายความว่าหน้าตัดนั้นมีสภาพเป็น UNCRACKED SECTION โดยมิได้ทำการแปลงให้หน้าตัดเป็น UNCRACKED SECTION พอบรรยายเสร็จผมจึงถือโอกาสไปถามท่านอาจารย์ ท่านก็บอกว่าผมเข้าใจถูกต้อง เพราะ ท่านอาจารย์ต้องการยก ตย ในการคำนวณและต้องการทำให้ง่ายเท่านั้น หากจะทำงานจริงๆ ควรวิเคราะห์ผลของการ CRACKED ของ SECTION ตรงนี้เข้าไปด้วย เพราะ จะมีผลทำให้ค่า DISPLACEMENT ซึ่งเป็นหนึ่งใน DESIGN CRITERIA ที่เราใช้ในการออกแบบนั้นมีค่าสูงขึ้นด้วยนั่นเองครับ
(2) การทำแบบนี้เป็นการจงใจเพิ่ม LEVER ARM ของหน้าตัดเดิม ซึ่งจริงๆ แล้วหากสภาพหน้างานนั้นอำนวย หน้าตัดใหม่ที่เราควรทำน่าจะเป็น TRUSS FRAMING จะเป็นการประหยัดเหล็กมากกว่าด้วย แต่เนื่องจากหน้างานติดข้อจำกัดเรื่อง CEILING HEIGHT ที่ต้องการมีค่าสูงพอสมควรจึงไม่สามารถทำได้
(3) สาเหตุที่ท่านอาจารย์แนะนำให้ใช้ LINK BAR เป็นตัวเชื่อม ซึ่ง LINK BAR ตัวนี้ควรเป็นเหล็ก ไม่ควรเป็นวัสดุจำพวกคอนกรีต เช่น NON-SHRINK เป็นต้น เพราะว่าหากเกิดแรงดึงระหว่างชิ้นส่วนบนและล่าง เราก็ทราบกันดีว่าวัสดุที่เป็นคอนกรีตนั้นไม่สามารถรับแรงดึงได้ดีสักเท่าไหร่
พอท่านอาจารย์บรรยายมาถึงตรงนี้ ผมก็ได้ยินเพื่อนสมาชิกท่านหนึ่งสอบถามขึ้นว่า มีโอกาสที่จะเกิดแรงดึงระหว่างชื้นบนและล่างด้วยหรือ ? ในเมื่อคานตัวบนนั้นทำหน้าที่รับแรงแบกทานถ่ายลงไปที่คานด้านล่าง
ต้องตอบว่า มี นะครับ ผมขออธิบายแบบนี้นะครับ ปัญหาลักษณะการที่คานรับแรงในแนวดิ่งในทิสทางลง หากปัญหาที่หน้างาน และ ในแบบจำลองนั้นเป็น SIMPLE BEAM หรือกรณีที่เราจะพบว่าผลการวิเคราะห์โครงสร้างนั้นมีแต่ค่า POSITIVE MOMENT (คานจะโก่งตัวลง) ปัญหาแบบนี้ก็จะไม่เกิด แต่ หากเป็น CONTINUOUS BEAM เมือใดเราถึงจะพบปัญาหานี้ตามมาครับ เพราะ ว่าใน CONTINUOUS BEAM เราจะพบว่าค่า POSITIVE MOMENT (คานจะโก่งตัวลง) จะเกิดที่บริเวณช่วงกึ่งกลางของคาน และค่า NEGATIVE MOMENT (คานจะโก่งตัวขึ้น) จะเกิดที่บริเวณขอบของช่วงคานที่มีความต่อเนื่อง การที่คานโก่งตัวขึ้นนี้เองครับถึงจะทำให้เกิด TENSION ในตัว LINK BAR ดังนั้นท่านอาจารย์ถึงได้ย้ำนักย้ำหนาว่าควรที่จะใช้ MEMBER ของตัว LINK BAR นี้เป็นวัสดุใดๆ ก็ได้ที่สามารถรับแรงแรงดึงได้ดี ซึ่งวัสดุที่หาได้ง่ายและมีนราคาที่ประหยัดที่สุดก็คือ เหล็ก นั่นเองครับ
ในรูปที่ผมแสดงในโพสต์นี้เป็นการอธิบายความแตกต่างของพฤติกรรมการโก่งตัวเปรียบเทียบกันระหว่างคานช่วงเดียวและคานต่อเนื่องนะครับ โดยหากคานมีขนาดหน้าตัด ช่วงว่าง และ นน บรรทุกที่เท่ากันๆ ค่า DISPLACEMENT ที่เกิดขึ้นมากที่สุดใน คานช่วงเดียว ย่อมที่จะมีค่าสูงกว่า คานต่อเนื่อง ดังนั้นเราเพื่อความประหยัดในการออกแบบ วิศวกรจึงนิยมที่จะทำการออกแบบให้คานมีลักษณะเป็นคานต่อเนื่องกันไป ซึ่งก็จะตรงตามหลักการและเหตุผลประการนี้นั่นเองครับ
ผมคิดว่าหลักการง่ายๆ ที่ท่านอาจารย์ได้แนะนำแก่พวกเราทุกๆ คนในประเด็นนี้ช่างง่ายดาย ตรงไปตรงมา แต่ กลับมีประโยชน์ต่อการทำงานของพวกเรามากๆ เลยครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JAMES DEAN
BSP-Bhumisiam
คุณภาพทีมงานช่างมาตรฐาน
คุณภาพเครื่องจักรมาตรฐาน
งานเอกสารตรวจสอบเชื่อถือได้
คุณภาพเสาเข็มมาตรฐาน มอก. 397-2524
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดผนังกำแพง ไม่ทำให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile) สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
ติดต่อ สายด่วน โทร 081-634-6586

MICROPILE ไมโครไพล์ สปันไมโครไพล์ เสาเข็มไมโครไพล์ เข็มสปันไมโครไพล์ เสาเข็มสปันไมโครไพล์ SPUNMICROPILE SPUN MICROPILE MICRO SPUNPILE