ชนิดของโครงสร้างฐานรากแบบตื้น หรือ TYPES OF SHALLOW FOUNDATION

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

ในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการให้คำแนะนำและทำการอธิบายแก่เพื่อนๆ ทุกคนให้ได้มีความรู้พื้นฐานรวมไปถึงการทำความรู้จักกันกับวิธีในการคำนวณ ค่ากำลังรับน้ำหนักบรรทุกของชั้นดินของฐานรากแบบตื้น หรือ BEARING CAPACITY OF SOIL FOR SHALLOW FOUNDATION กันต่อจากเมื่อสัปดาห์ก่อนกันนะครับ โดยที่ในวันนี้ผมจะมาทำการพูดถึงเรื่อง ชนิดของโครงสร้างฐานรากแบบตื้น หรือ TYPES OF SHALLOW FOUNDATION นั่นเองนะครับ

หากจะพูดถึงโครงสร้างฐานรากแบบตื้น เราจะสามารถทำการจำแนกออกได้เป็นหลายชนิดด้วยกัน ทั้งนี้ก็จะขึ้นอยู่กับ ลักษณะ และ คุณสมบัติ ของพารามิเตอร์ต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง เช่น คุณสมบัติต่างๆ ของชั้นดิน คุณสมบัติต่างๆ ของโครงสร้าง หรือ โครงสร้างส่วนบน ลักษณะและข้อจำกัดของพื้นที่ๆ ทำการก่อสร้าง ลักษณะของพื้นที่ข้างเคียง รวมไปถึงลักษณะต่างๆ ของชั้นดิน ขนาดของน้ำหนักที่จะต้องถูกถ่ายลงไปยังมวลดินข้างล่าง วัสดุที่ใช้ในการทำงานก่อสร้าง วิธีการในการก่อสร้าง เครื่องจักรและเครื่องมือต่างๆ ในการทำงาน เป็นต้น

อย่างไรก็ดีเราก็ยังพอที่จะสามารถทำการแบ่งประเภทของฐานรากแบบตื้นออกได้เป็นประเภทใหญ่ๆ ด้วยกันทั้งหมด 3 ประเภท โดยประเภทแรกจะได้แก่ โครงสร้างฐานรากแบบแผ่เดี่ยว หรือ ISOLATED BEARING FOUNDATION นะครับ

เราจะนิยมใช้โครงสร้างฐานรากประเภทนี้ก็ต่อเมื่อ โครงสร้างของเรานั้นมีลักษณะของช่วงเสาที่แยกห่างกันมากพอสมควร โดยที่น้ำหนักที่ถูกถ่ายลงมาเสาแต่ละต้นนั้นต้องถือมีค่าไม่สูงมากจนเกินไปนัก และ ที่สำคัญคือ ชั้นดินที่รองรับจะต้องมีคุณสมบัติความแข็งแรงและเสถียรภาพอยู่ในระดับที่ดีเพียงพออีกด้วย สำหรับฐานรากประเภทนี้จะเหมาะก็ต่อเมื่อฐานรากนั้นๆ มีความต้องการพื้นที่ในการถ่ายน้ำหนักที่ไม่สูงมากนัก นี่เองคือสาเหตุหลักว่า เพราะเหตุใดการออกแบบฐานรากแบบตื้นของเราให้เป็นฐานรากแบบแผ่เดี่ยวนั้นจะเป็นการทำให้เกิดทั้งความ ประหยัด และ ง่ายดาย ต่อขั้นตอนในการก่อสร้างที่มากที่สุด

สำหรับเทคนิคและวิธีในการพิจารณาว่าฐานรากใดที่เหมาะจะทำเป็นฐานรากประเภทนี้ก็คือ เมื่อคำนวณออกแบบออกมาแล้วเราพบว่าพื้นที่ในการรับน้ำหนักจะมีค่าไม่เกิน 10 ตร.ม/หนึ่งฐานราก หรือ มีวิธีคำนวณง่ายๆ อีกหนึ่งอย่างก็คือ พื้นที่ทั้งหมดที่จะใช้ทำการก่อสร้างตัวฐานรากเมื่อรวมกันแล้วจะต้องมีค่าไม่เกินร้อยละ 50 ของพื้นที่ของอาคารนั่นเองนะครับ

ในครั้งต่อไปผมจะขออนุญาตพูด ถึงประเภทของฐานรากแบบตื้นประเภทที่ 2 นั่นก็คือ โครงสร้างฐานรากแบบแผ่ร่วม หรือ COMBINED BEARING FOUNDATION หากว่าเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษ ก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความนี้ของผมกันได้ในสัปดาห์หน้านะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์วันพฤหัสบดี
#ความรู้เกี่ยวกับการเจาะสำรวจดิน
#ประเภทของฐานรากแบบตื้นแบบแรก
#โครงสร้างฐานรากแบบแผ่เดี่ยว

ADMIN JAMES DEAN


Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun Micro Pile
1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สมอ.
4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ?
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
Mr.MicroPile
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
063-889-7987
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449