การเลือกใช้งานระบบฐานรากเสาเข็ม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ

ตามที่ผมได้เรียนให้เพื่อนๆ ทราบไปในการโพสต์ของเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า วันนี้ผมจะมาทำการอธิบายและพูดเจาะลึกลงไปในรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่อง ระยะห่างระหว่างเสาเข็ม และ ลักษณะและประเภทของดินที่เสาเข็มจะต้องมีการฝังตัวลงไป เพิ่มเติมกันอีกสักโพสต์ก็แล้วกันนะครับ

ทั้งนี้เราจะสามารถทำการจำแนกกำลังในการรับน้ำหนักของเสาเข็มแบบกลุ่มหรือ GROUP PILE ว่าจะมีกำลังในการรับน้ำหนักเท่ากับเท่าใด ก็จะขึ้นอยู่กับว่าเสาเข็มของเรานั้นมีการวางตัวอยู่ในดินที่จัดอยู่ในประเภทใดดังต่อไปนี้

 

(1.) สำหรับดินแบบที่มีความเชื่อมแน่นหรือพูดง่ายๆ ก็คือ ดินเหนียว (COHESIVE SOIL)

 

เกณฑ์ที่เราจะใช้ในการจำแนกประเภทของกำลังของเสาเข็มแบบกลุ่มหรือ GROUP PILE ซึ่งในที่นี้เราจะให้ชื่อว่า Q(group)(clay) นั้น เราจะต้องทำการคำนวณหาค่ากำลังในการรับน้ำหนักของเสาเข็มกลุ่มโดยแบ่งออกเป็น 2 ค่า ซึ่งก็จะได้แก่

 

(1.1) กำลังการรับน้ำหนักของเสาเข็มเนื่องจากกำลังแบกทานหรือ FRICTION CAPACITY เป็นหลัก โดยเราจะให้ค่าๆ นี้เป็นค่า Q(group)(clay)(1) นะครับ

 

(1.2) กำลังการรับน้ำหนักของเสาเข็มเนื่องจากกำลังเสียดทานที่ผิวหรือ SKIN FRICTION CAPACITY เป็นหลัก โดยเราจะให้ค่าๆ นี้เป็นค่า Q(group)(clay)(2) นะครับ

 

จากนั้นพอเรานำเอาทั้งค่า Q(group)(clay)(1) และ Q(group)(clay)(2) ทั้งสองค่านี้มาทำการเปรียบเทียบกัน หากว่าค่าใดค่าหนึ่งที่คำนวณออกมาแล้วมีค่าที่น้อยกว่า ก็ให้ใช้ค่านั้นเป็นค่ากำลังความสามารถในการรับน้ำหนักของเสาเข็มกลุ่มของเรา ดังนั้น

 

Q(group)(clay) = MIN.[ Q(group)(clay)(1) , Q(group)(clay)(2) ]

 

(2.) สำหรับดินแบบที่ไม่มีความเชื่อมแน่นหรือพูดง่ายๆ ก็คือ ดินทราย (COHESIONLESS SOIL)

 

เราจะสามารถทำการคำนวณกำลังของเสาเข็มเมื่อเสาเข็มถูกวางตัวให้อยู่ในดินประเภทนี้ได้ง่ายกว่าดินประเภทแรกมาก โดยที่เกณฑ์ที่เราจะใช้ในการจำแนกประเภทของกำลังของเสาเข็มแบบกลุ่มหรือ GROUP PILE ซึ่งในที่นี้เราจะให้ชื่อว่า Q(group)(sand) ว่าจะมีกำลังเปรียบเทียบได้กับเสาเข็มแบบเดี่ยวหรือ SINGLE PILE ซึ่งในที่นี้เราจะให้ชื่อว่า Q(single) ได้อย่างไรนั้นจะมีข้อแม้ก็คือ เสาเข็มของเรานั้นจะต้องมีระยะห่างระหว่างเสาเข็มเป็นไปตามที่ผมได้อธิบายไปในการโพสต์ครั้งที่แล้วว่า จะต้องมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 3 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางของเสาเข็ม และ เสาเข็มของเรานั้นจะใช้เป็นระบบใดระหว่าง

 

(2.1) เสาเข็มระบบตอกหรือ DRIVEN PILE

 

Q(group)(sand) = ∑ Q(single)

 

(2.2) เสาเข็มระบบเจาะหรือ BORED PILE

 

Q(group)(sand) = R ∑ Q(single)

 

โดยที่ค่า R นี้ก็คือ ค่าลดทอนกำลังของเสาเข็มกลุ่ม ซึ่งเราอาจจะกำหนดให้ใช้ค่า R นี้ให้มีค่าโดยประมาณเท่ากับ 0.67 แต่ก็ไม่ควรเกิน 0.75 นะครับ

 

เอาเป็นว่าในครั้งต่อไปที่เราจะมาพบกัน ผมจะมาทำการอธิบายและลงรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่อง กำลังการรับน้ำหนักของเสาเข็มเนื่องจากกำลังแบกทานเป็นหลักหรือค่า Q(group)(clay)(1) และกำลังการรับน้ำหนักของเสาเข็มเนื่องจากกำลังเสียดทานที่ผิวเป็นหลักหรือค่า Q(group)(clay)(2) ตามที่ผมได้อธิบายไปแล้วข้างต้นเพิ่มเติมกันอีกสักโพสต์หนึ่ง หากว่ามีเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษก็สามารถที่จะติดตามได้ในการพบกันครั้งต่อๆ ไปของเราได้นะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

 

#โพสต์ของวันพุธ

#ความรู้เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง

#การเลือกใช้งานระบบฐานรากเสาเข็มครั้งที่2

 

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com