ความสำคัญของขั้นตอนการทดสอบคุณสมบัติของดิน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการตอบคำถามให้แก่เพื่อนแฟนเพจท่านหนึ่งที่ได้ให้ความกรุณาสอบถามผมเข้ามาทางอินบ็อกซ์ส่วนตัวว่า

 

“จากที่อ่านบทความของผมมาโดยตลอดผมจะสังเกตได้ว่าคุณดีนพูดอยู่บ่อยๆ ว่าควรที่จะทำการเจาะสำรวจดินในทุกๆ โครงการก่อสร้าง เพื่อที่เราจะได้ทราบค่าคุณสมบัติต่างๆ ของชั้นดิน คำถามก็คือ หากเราเป็นผู้ออกแบบหรือผู้รับเหมาที่จะต้องทำงานให้แก่เจ้าของบ้านที่ว่าจ้างเราแต่ทางเจ้าของบ้านไม่มีความเข้าใจว่าขั้นตอนในการทดสอบดินนั้นมีความสำคัญอย่างไร เราควรที่จะทำอย่างไรดีครับ?”

 

จริงๆ แล้วคำถามข้อนี้เป็นเสมือนคำถามโลกแตกเลยก็ว่าได้ ซึ่งตัวของผมเองก็เคยได้ให้ข้อมูลและเคยได้ตอบคำถามทำนองนี้ไปหลายครั้งแล้วนะแต่ก็ไม่เป็นไร ผมจะขออนุญาตกล่าวถึงอีกสักรอบก็คงจะไม่เป็นไรนะครับ

 

หากเราไม่มีผลการทดสอบดินเพื่อที่จะนำมาใช้ในการออกแบบระบบฐานรากเสาเข็มของอาคารของเราจริงๆ สิ่งที่ผมพอที่จะทำการให้คำแนะนำให้ทำได้ก็คือ

 

กรณีที่ 1 คือ หากเพื่อนๆ ต้องทำหน้าที่เป็นผู้ทำการออกแบบ สิ่งที่ควรต้องทำเป็นอันดับแรกเลยก็คือ ต้องอธิบายและให้ความรู้แก่ผู้เป็นเจ้าของโครงการอย่างดีที่สุดก่อนแต่หากอธิบายแล้วแต่ทางเจ้าของไม่ยินดีที่จะทำ เราก็ควรที่จะต้องเริ่มต้นโดยการสังเกตพื้นที่และลักษณะของภูมิประเทศโดยรอบตัวอาคารในโครงการของเราก่อนเพราะหากว่ามีสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่จะบ่งชี้ให้แก่เราได้อย่างชัดเจนหรือมีนัยยะสำคัญว่า ลักษณะของชั้นดินในบริเวณของโครงการก่อสร้างของเรานั้นเป็นดินที่ไมได้มีลักษณะทั่วๆ ไป เราจะได้มีความระมัดระวังในการเลือกระบบ ขนาดและความยาวของเสาเข็มต่อไป ต่อมาก็คือเราจะต้องเริ่มต้นทำการออกแบบระบบของฐานรากและเสาเข็มโดยอาศัยข้อมูลจากข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานคร ซึ่งข้อบัญญัติดังกล่าวได้กล่าวว่าให้เราทำการพิจารณาว่าเสาเข็มของเรานั้นเป็นเสาเข็มรับแรงฝืด หรือ FRICTION PILE เพียงเท่านั้น โดยที่ข้อบัญญัตินี้มีที่มาที่ไปจากการเก็บรวมรวมข้อมูลของชั้นดินทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ดังนั้นค่าที่จะนำมาใช้ในการออกแบบขากข้อบัญญัตินี้จึงมีความ CONSERVATIVE ในระดับหนึ่ง จากนั้นเราก็จะต้องทำการสอบทานไปยังพื้นที่ๆ อยู่ในละแวกใกล้เคียงกับพื้นที่ก่อสร้างนั้นๆ ว่า ในบริเวณรอบๆ นั้นมีข้อมูลดินที่เราสามารถจะทำการอ้างอิงถึงได้หรือไม่ หากว่าโชคดี อาจจะมีข้อมูลดินที่เราสามารถจะทำการอ้างอิงถึงได้ เราก็ควรที่จะนำเอาข้อมูลนั้นๆ มาทำการเปรียบเทียบกับข้อมูลเสาเข็มที่ได้รับการออกแบบเอาไว้จากข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานครและทำการพิจารณาอย่างรอบคอบอีกครั้งหนึ่งว่า เราจะทำการกำหนดให้ใช้เสาเข็มระบบใด ขนาดเท่าใดและความยาวเท่ากับเท่าใดดี นั่นคือสิ่งที่ดีที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ในฐานะของผู้ออกแบบที่เราจะทำได้ในสถานการณ์เช่นนี้แล้วละครับ

 

กรณีที่ 2 คือ หากเพื่อนๆ ต้องทำหน้าที่เป็นผู้รับเหมา สิ่งที่เราจะทำก็คือ เพื่อนๆ มีหน้าที่ที่จะต้องทำการควบคุมขั้นตอนในการทำงานการก่อสร้างเสาเข็มของอาคารของเราให้เป็นไปด้วยความระมัดระวังเป็นอย่างมากเพราะระบบของฐานรากเสาเข็มแต่ละระบบก็จะมีความแตกต่างกันและก็จะมีความยากง่ายในการควบคุมการทำงานที่แตกต่างกันออกไปด้วย นั่นคือสิ่งที่ดีที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ในฐานะของผู้รับเหมาที่เราจะทำได้ในสถานการณ์เช่นนี้แล้วละครับ

 

หากว่าเราสามารถที่จะทำได้ เราก็ควรที่จะต้องทำการอธิบายโดยใช้ความพยายามอย่างที่สุดเพื่อที่จะทำการอธิบายให้แก่เจ้าของอาคารได้เล็งเห็นและทราบถึงความสำคัญของขั้นตอนในการทดสอบดิน หากว่าเราพยายามจนสุดความสามารถแต่ก็ยังไม่เป็นผล ผมก็อยากจะให้ข้อคิดเอาไว้ว่า เราก็ไม่ควรที่จะเอาวิชาชีพของเราไปเสี่ยงโดยไม่จำเป็น ยิ่งเป็นผู้รับเหมาด้วยแล้ว จะต้องมีขั้นตอนของการรับประกันงานโครงสร้างให้แก่เจ้าของอีกด้วย หากเพื่อนๆ โชคร้าย เกิดปัญหากับระบบฐานรากขึ้นมาจริงๆ ลองคำนวณดูเอาเองนะครับว่า ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นซึ่งเพื่อนๆ จะต้องรับผิดชอบ มันจะคุ้มค่ากับเงินที่เพื่อนๆ ได้เป็นค่าจ้างในการทำงานในโครงการหนึ่งๆ หรือไม่นะครับ

 

สิ่งสุดท้ายที่ผมอยากจะฝากเอาไว้ให้แก่ผู้ออกแบบและผู้รับเหมาทุกๆ ท่านก็คือ สิ่งที่เราจะได้รับจากขั้นตอนในการทดสอบดินนั้นไม่ใช่แค่เฉพาะข้อมูลเพื่อการออกแบบเสาเข็มเพียงเท่านั้น เรายังจะได้ข้อมูลอื่นๆ อีกมากมายที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานให้แก่เจ้าของโครงการ ตัวอย่างเช่น เราจะทราบถึงระดับของน้ำใต้ดินหรือ WATER LEVEL ว่าอยู่ลึกหรือตื้นลงไปจากผิวดินตามธรรมชาติมากหรือน้อยเพียงใด ทำให้สามารถที่จะเลือกระบบของเสาเข็มและระบบโครงสร้างอาคารให้มีความเหมาะสมได้ หรือ เราจะทราบว่าค่าของมวลน้ำใต้ดินหรือ WATER CONTENT ที่มีอยู่ตามธรรมชาตินั้นมีค่ามากหรือน้อยเพียงใด ทำให้สามารถที่จะประเมินไปได้ว่าในอนาคตนั้นอาคารหรือว่าพื้นที่โดยรอบของอาคารของเราจะมีโอกาสที่จะเกิดการทรุดตัวเนื่องจากการระบายน้ำมากหรือน้อยเพียงใด เป็นต้น ดังนั้นผมจึงขอให้เพื่อนๆ ทุกคนได้พึงระลึกถึงความสำคัญของการทดสอบดินอยู่เสมอว่า มีความสำคัญทั้งก่อนการก่อสร้าง ขณะทำการก่อสร้างและภายหลังการก่อสร้างด้วยนะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

 

#โพสต์วันพฤหัสบดี

#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็ม

#ตอบคำถามเรื่องความสำคัญของขั้นตอนการทดสอบคุณสมบัติของดิน

 

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com