ปัญหาคำถามเกี่ยวกับค่า DesignRatio

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

สืบเนื่องจากเมื่อวานนี้ได้มีคำถามของน้องแฟนเพจท่านหนึ่งที่ได้สอบถามเข้ามาที่เพจเกี่ยวกับ ความรู้ที่ผมเคยได้โพสต์ไปก่อนหน้านี้ที่มีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่องของ “DESIGN RATIO” ว่าคืออะไร ?

ผมเห็นว่าน้องแฟนเพจท่านนี้มีความสนใจและสอบถามคำถามที่มีความน่าสนใจเข้ามา จึงคิดว่าวันนี้จะขออนุญาตใช้พื้นที่ตรงนี้ในการอธิบายและยกตัวอย่างให้เห็นถึงประเด็นๆ นี้ให้แก่น้องท่านนี้และแฟนเพจทุกๆ คนด้วยนะครับ

 

เริ่มต้นจากความหมายของคำว่า DESIGN RATIO กันก่อนเลย คำๆ นี้มีความหมายง่ายๆ ว่า ค่าสัดส่วนที่เราใช้ในการตัดสินใจเมื่อทำการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างครับ

 

โดยปกติแล้วเราจะสามารถกำหนดให้ใช้ค่าสัดส่วนค่านี้เป็นเท่าใดก็ได้แต่สาเหตุที่เรามักจะใช้ค่าๆ นี้เท่ากับ 1.00 นั่นเป็นเพราะว่าจริงๆ แล้วค่าๆ ก็คือสัดส่วนระหว่างค่าของแรงที่เกิดขึ้นจริงๆ หรือค่า Fs ส่วนด้วยค่าของแรงที่ยอมให้เกิดขึ้นได้ของหน้าตัดชิ้นส่วนใดๆ หรือค่า Fa หรือเขียนง่ายๆ ในรูปแบบของสมการได้ว่า

 

DESIGN RATIO = Fs / Fa

 

ซึ่งชิ้นส่วนที่เรากำลังทำการออกแบบอยู่นั้นจะมีความปลอดภัยดีหรือสามารถที่จะรับแรงที่เกิดขึ้นได้นั้น ค่าของแรงที่เกิดขึ้นจริงๆ ย่อมที่จะต้องมีค่าน้อยกว่าหรืออย่างมากที่สุดคือเท่ากันกับค่าของแรงที่ยอมให้เกิดขึ้นได้ของหน้าตัดชิ้นส่วนนั้นๆ พูดให้เข้าใจได้ง่ายๆ ก็คือ ค่าสัดส่วนข้างต้นก็จะต้องมีค่าน้อยกว่าหรือมากที่สุดคือเท่ากับ 1.00 นั่นเองครับ

 

เรามาดูตัวอย่างง่ายๆ ที่อาจจะทำให้เห็นภาพง่ายๆ ของปัญหาข้อนี้กันสักเล็กน้อย โดยที่ผมจะทำการสมมติว่า ผมกำลังทำการออกแบบหน้าตัดของชิ้นส่วนของโครงข้อหมุนหรือ TRUSS ELEMENT โดยที่ผมทราบจากผลของการวิเคราะห์โครงสร้างมาแล้วว่า เมื่อพิจารณาจากทุกๆ LOAD CASE แล้วในหน้าตัดหนึ่งๆ นั้นจะมีน้ำหนักบรรทุกตามแนวแกนหรือ AXIAL LOAD ที่เป็นน้ำหนักบรรทุกที่ควบคุมการออกแบบหรือ GOVERNED DESIGN LOAD ที่เป็นแรงอัดหรือ COMPRESSION FORCE อยู่ที่เท่ากับ 1400 KGF และ ที่เป็นแรงดึงหรือ TENSION FORCE อยู่ที่เท่ากับ 2200 KGF นะครับ

 

หลังจากที่ผมได้นำเอาหน้าตัดของโครงข้อหมุนที่ได้เลือกใช้ตอนที่ทำการวิเคราะห์โครงสร้างมาทำการตรวจสอบและทำการออกแบบดูก็ได้พบว่า หน้าตัดนั้นๆ ของเราจะมีค่าความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกที่เป็นแรงอัดมากที่สุดอยู่ที่ไม่เกิน 1900 KGF และมีค่าความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกที่เป็นแรงดึงมากที่สุดอยู่ที่ไม่เกิน 2800 KGF นะครับ

 

หากผมจะทำการคำนวณหา DESIGN RATIO ของหน้าตัดๆ นี้ออกมา ผมจะต้องทำการคำนวณโดยเลือกจับคู่ระหว่างค่าแรงอัดที่เกิดขึ้นจริงๆ ในหน้าตัด ส่วนด้วยค่าแรงอัดที่ยอมให้เกิดขึ้นในหน้าตัด ดังนั้นก็จะทำการคำนวณออกมาได้ว่า

 

DESIGN RATIO 1 = Fcs / Fca

DESIGN RATIO 1 = 1400 / 1900

DESIGN RATIO 1 = 0.74 < 1.00 <OK>

 

ต่อมาก็คือ เลือกจับคู่ระหว่างค่าแรงดึงที่เกิดขึ้นจริงๆ ในหน้าตัด ส่วนด้วยค่าแรงดึงที่ยอมให้เกิดขึ้นในหน้าตัด ดังนั้นก็จะทำการคำนวณออกมาได้ว่า

 

DESIGN RATIO 2 = Fts / Fta

DESIGN RATIO 2 = 2200 / 2800

DESIGN RATIO 2 = 0.79 < 1.00 <OK>

 

ดังนั้นเราก็จะนำเอาค่า DESIGN RATIO 1 และ DESIGN RATIO 2 มาเปรียบเทียบกัน โดยที่จะต้องเลือกใช้งานค่าที่มากที่สุดเป็นเกณฑ์ นั่นก็คือ

 

DESIGN RATIO = MAXIMUM ( DESIGN RATIO 1 , DESIGN RATIO 2 )

DESIGN RATIO = MAXIMUM ( 0.74 , 0.79 )

DESIGN RATIO = 0.79

 

สาเหตุที่เราต้องเลือกใช้ “ค่ามาก” นั่นเป็นเพราะว่า ยิ่งค่า DESIGN RATIO ของเรานั้นมีค่าที่เข้าใกล้ 1.00 มากเพียงใด นั่นก็แสดงว่า หน้าตัดของเราจะมีความสามารถในการรับแรงได้ใกล้เคียงกันกับน้ำหนักบรรทุกจริงๆ ที่เกิดขึ้นในหน้าตัดนั้นๆ และในทางกลับกัน หากว่าค่าๆ นี้น้อยกว่า 1.00 มากๆ นั่นก็แสดงว่า หน้าตัดของเราจะมีความสามารถในการรับแรงได้มากกว่ากับน้ำหนักบรรทุกจริงๆ ที่เกิดขึ้นในหน้าตัดนั้นๆ นะครับ

 

หากเราทำการเปรียบเทียบกันระหว่างค่าน้อยกับค่ามาก กรณีที่ค่าๆ นี้มีค่าที่ “มาก” นั่นก็แสดงว่าหน้าตัดนั้นๆ จะมีภาระในการรับแรงที่สูงกว่ากรณีที่ค่าๆ นี้มีค่าที่ “น้อย” ดังนั้นหน้าที่ของผู้ออกแบบก็คือ จะต้องรายงานออกมาในรูปแบบของรายการคำนวณให้ทราบว่า หน้าตัดของเรานั้นมีความวิกฤติต่อการรับแรงมากที่สุดเท่ากับเท่าใด เราจึงต้องเลือกใช้งานค่ามากเป็นหลักครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ

#ปัญหาคำถามเกี่ยวกับค่าDesignRatio

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com