ปัญหาการใช้งานฐานรากที่มีการก่อสร้างโดยใช้ เสาเข็มเพียงต้นเดียว หรือ SINGLE PILE

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

โดยที่ผมจะมายกตัวอย่างถึงปัญหางานวิศวกรรมโครงสร้างที่พบได้จริงๆ ในชีวิตประจำวันของเราๆ ซึ่งในวันนี้ผมจะหยิบยกเอากรณีของปัญหาการใช้งานฐานรากที่มีการก่อสร้างโดยใช้ เสาเข็มเพียงต้นเดียว หรือ SINGLE PILE ต่อเนื่องจากปัญหาในหลายสัปดาห์ที่ผ่านมานะครับ

 

โดยที่ในวันนี้ผมจะนำเอาวิธีการและตัวอย่างในการแก้ไขปัญหาสำหรับกรณีที่โครงสร้างเสาเข็มของเรานั้นเกิดการเยื้องศูนย์ออกไปมากกว่าค่าที่ยอมรับได้ ซึ่งก็คือวิธีการใส่โครงสร้างคานยึดรั้งหรือที่เรานิยมเรียกกันในภาษาอังกฤษกันเป็นประจำว่า TIED BEAM ซึ่งจริงๆ แล้วตัวของผมเองก็เคยได้พูดและอธิบายถึงเจ้าโครงสร้างๆ นี้ไปหลายครั้งแล้วแต่ในวันนี้จะขอนำเอาภาพ DIAGRAM มาประกอบคำอธิบายด้วย เผื่อว่าจะช่วยเสริมสร้างทำให้เพื่อนๆ สามารถที่จะเข้าใจกลไกการทำงานของเจ้าโครงสร้าง TIED BEAM นี้มากยิ่งขึ้นนะครับ

 

โดยเริ่มต้นดูจากรูปแรกก่อนนั่นก็คือ รูปของแปลนฐานรากก่อนการแก้ไข ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าฐานรากในอาคารหลังนี้นั้นเป็นฐานรากแบบที่ใช้เสาเข็มเพียง 1 ต้นต่อ 1 ฐานราก โดยที่ผลจากการตอกเสาเข็มนั้นปรากฏว่า เสาเข็มในฐานรากต้นที่ F1N2 นั้นเกิดการเยื้องศูนย์ออกไปมากกว่าค่าที่ยอมรับได้ ซึ่งก็จะทำให้เกิดระยะการเยื้องศูนย์ทางแกน x หรือว่า ex และระยะการเยื้องศูนย์ทางแกน y หรือว่า ey ระหว่างตัวโครงสร้างเสาเข็มและตอม่อ C1 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยหากเราไม่ทำการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ ในที่สุดก็จะทำให้โครงสร้างเสาเข็มต้นนี้จะต้องทำหน้าที่แบกรับโมเมนต์ดัดรอบทั้งแกน x และ y ตามที่ผมเคยได้อธิบายให้แก่เพื่อนๆ ไปก่อนหน้านี้

 

รูปที่สองก็คือ รูปของแปลนฐานรากภายหลังการแก้ไข ซึ่งผมก็ทำการแก้ไขโดยการใส่ TIED BEAM เข้าไปเพื่อที่จะทำหน้าที่ในการรับน้ำหนักต่างๆ และก็ยึดรั้งโครงสร้างฐานรากแต่ละต้นเอาไว้ด้วย โดยที่ลำดับของการรับแรงต่างๆ นั้นเพื่อนๆ ก็สามารถที่จะดูได้จากรูป DIAGRAM ที่ผมได้นำมาแสดงเอาไว้

 

เริ่มต้นจากคานช่วงเดียว TB1 และคานยื่น CTB1 ซึ่งก็จะทำหน้าที่รับน้ำน้ำหนักจากตอม่อ C1 โดยที่แรง R(F1N1) ก็จะถ่ายแรงกระทำแบบจุดไปลงฐานราก F1N1 และแรง R1 ก็จะถูกถ่ายไปยังคานช่วงเดียว TB2 ต่อไป

 

ต่อมาคานช่วงเดียว TB2 ซึ่งก็จะทำหน้าที่รับน้ำน้ำหนัก R1 ต่อมาจากคานช่วงเดียว TB1 และคานยื่น CTB1 โดยที่แรง R(F1N2) ก็จะถ่ายแรงกระทำแบบจุดไปลงฐานราก F1N2 และแรง R2 ก็จะถูกถ่ายไปยังคานช่วงเดียว TB3 ต่อไป

 

สุดท้ายก็คือคานช่วงเดียว TB3 ซึ่งก็จะทำหน้าที่รับน้ำน้ำหนัก R2 ต่อมาจากคานช่วงเดียว TB2 โดยที่แรง R(F1N3) ก็จะถ่ายแรงกระทำแบบจุดไปลงฐานราก F1N3 และแรง R(F1N4) ก็จะถ่ายแรงกระทำแบบจุดไปลงฐานราก F1N4 นั่นเอง

 

เพื่อนๆ จะสามารถสังเกตเห็นได้ว่า หากเราทำการเสริมโครงสร้างโดยใช้ระบบ TIED BEAM นั้นจะทำให้ลักษณะและรูปแบบของแรงกระทำที่จะถูกส่งผ่านไปยังฐานรากและชิ้นส่วนโครงสร้างคาน TIED BEAM จะเป็น แรงกระทำแบบจุด ทั้งหมด ซึ่งก็จะเป็นไปตามหลักการที่ผมได้เรียนกับเพื่อนๆ ให้ทราบกันไปก่อนหน้านี้ว่า วิธีการนี้จะช่วยทำให้เสาเข็มเดี่ยวที่อยู่ภายในฐานราก F1 ที่เกิดการเยื้องศูนย์ออกไปนั้นไม่ต้องรับภาระจากการเกิดโมเมนต์ดัดที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวโครงสร้างเสาเข็มได้ อีกทั้งวิธีการนี้ยังถือได้ว่าเป็นวิธีการแก้ไขระบบของฐานรากที่ง่ายดายและมีความตรงไปตรงมามากที่สุดวิธีการหนึ่งด้วยครับ

 

ในลำดับต่อไปหากว่าไม่มีอะไรผิดพลาด ผมก็จะขอนำเอาหลักการสำคัญๆ และข้อพึงระวังในการออกแบบโครงสร้าง TIED BEAM มาฝากเพื่อนๆ ทุกคน หากเพื่อนๆ ท่านใดสนใจก็สามารถที่จะติดตามรับชมและอ่านบทความเรื่องนี้ของผมได้ในสัปดาห์หน้านะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ

#ปัญหาและวิธีการในแก้ไขเสาเข็มเดี่ยวที่เกิดการเยื้องศูนย์ออกไปมากกว่าค่าที่ยอมรับได้โดยการอาศัยโครงสร้างคานยึดรั้ง

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com