ทดสอบหาค่าโมดูลัสการแตกร้าว

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

เนื่องจากเมื่อวันก่อนที่ผมโพสต์เกี่ยวกับค่าหน้าตัดเหล็กเสริมรับแรงดึงน้อยที่สุดนั้นเราจะต้องหาจากค่าโมดูลัสการแตกร้าว และ มีเพื่อนของเราท่านหนึ่งถามผมมาว่าจากในรูปที่ผมแนบมาด้วยนั้น (ดูรูปที่ 1) เป็นรูปการทดสอบค่าๆ นี้หรือไม่ ? วันนี้ผมจะมาตอบคำถามข้อนี้นะครับ

ประการแรกเลยนะครับ คำตอบ คือ ใช่ครับ การทดสอบหาค่าๆ นี้สามารถทำการทดสอบได้ 2 วิธีด้วยกัน คือ

(1) วิธีการ CENTER POINT LOADING (ดูรูปที่ 2)
วิธีการนี้จะอ้างอิงตามมาตรฐาน ASTM C239

(2) วิธีการ THIRD POINT LOADING (ดูรูปที่ 3)
วิธีการนี้จะอ้างอิงตามมาตรฐาน ASTM C78

โดยที่เราที่สามารถที่จะเลือกใช้วิธีการทดสอบได้ทั้ง 2 แบบเลยครับ แต่วิธีการที่นิยมมากที่สุดจะเป็นวิธีการ THIRD POINT LOADING ครับ โดยที่ทั้ง 2 วิธีการจะมีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องขั้นตอน และ วิธีการทดสอบ และ สมการที่ใช้ในการทดสอบ สมการที่ใช้สำหรับแต่ละวิธีการได้แก่

(1) สมการสำหรับวิธีการ CENTER POINT LOADING
P = 3PL/2bd^(2)

(2) สมการสำหรับวิธีการ THIRD POINT LOADING
แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

เมื่อรอยแตกเกิดในช่วงกลางของคาน
P = PL/bd^(2)

เมื่อรอยแตกอยู่ภายนอกช่วงกลางของคาน โดยระยะที่เกิดจะเกิดห่างออกมาไม่เกินร้อยละ 5 ของช่วงคาน
P = 3Pa/bd^(2)

R คือ คืาการรับแรงดัด มีหน่วยเป็น MPa
P คือ แรงสูงสุดที่อ่านได้จากเครื่องทดสอบ มีหน่วยเป็น N
L คือ ความยาวช่วงคาน มีหน่วยเป็น mm
b คือ ความกว้างเฉลี่ยของหน้าตัดบริเวณที่เกิดรอยแตก มีหน่วยเป็น mm
d คือ ความลึกเฉลี่ยของหน้าตัดบริเวณที่เกิดรอยแตก มีหน่วยเป็นเป็น mm
a คือ ระยะเฉลี่ยจากรอยแตกถึงฐานรองคานด้านที่ใกล้ที่สุด มีหน่วยเป็น mm

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากพี่แขก และ เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN