ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ วิธีการตรวจสอบความเสียหายของโครงสร้างเสาเข็ม และวิธีในการกองเก็บที่ถูกต้องที่เหมาะสม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ

เนื่องจากเมื่อไม่นานมานี้รุ่นพี่วิศวกรที่ผมเคารพและรักท่านหนึ่งได้ไปทำงานการตอกเสาเข็ม คอร ชนิดทั่วๆ ไปที่ไม่ใช่เสาเข็มสปันไมโครไพล์ที่ในโครงการก่อสร้างแห่งหนึ่งและไปพบเจอเข้ากับความเสียหายของเสาเข็มก่อนที่จะนำมาใช้ในการตอกจริง พี่ท่านนี้จึงได้ทำการ REJECT เสาเข็มชุดนั้นไปหลายต้นเลย วันนี้ผมจึงได้ขออนุญาตรุ่นพี่ท่านนี้ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะได้นำเอารูปภาพจริงๆ ของความเสียหายของเสาเข็มที่เราอาจจะพบเจอได้ที่หน้างานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

หากเพื่อนๆ สังเกตดูดีๆ ก็จะพบเห็นได้อย่างชัดเจนเลยนะครับว่าคุณภาพของเสาเข็มในรูปนั้นไม่ค่อยจะสู้ดีนัก ซึ่งก็อาจจะเกิดได้จากการขนาดการดูแลและใส่ใจทางด้านคุณภาพในการผลิตตัวโครงสร้างเสาเข็มที่ดีเพียงพอ ซึ่งหากในโครงการๆ นี้เลือกใช้เป็นเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ผมเชื่อเหลือเกินว่ารุ่นพี่ของผมท่านนี้จะไม่พบเจอกับเหตุการณ์เช่นนี้อย่างแน่นอนและหลังจากเมื่อได้ทำการตรวจสอบและสำรวจต่อไปก็จะพบเห็นว่า จะมีรอยแตกร้าวตามขวางซึ่งจะมีขนาดและความลึกที่ค่อนข้างที่จะมากหลายจุดเลย ซึ่งหากเพื่อนๆ เจอกับความเสียหายแบบนี้บนเสาเข็มของเพื่อนๆ ผมก็คงต้องแนะนำว่า เพื่อนๆ ควรต้องรีบทำการ REJECT เสาเข็มชุดนี้เหมือนกับที่รุ่นพี่วิศวกรของผมได้ทำในทันทีเลยเพราะหากปล่อยเอาไว้และหากคนงานที่ไม่มีความรู้เกิดนำเอาเสาเข็มที่มีความเสียหายเหล่านี้ไปใช้ในการตอก ก็คงไม่ต้องจินตนาการต่อเลยนะครับว่าจะเกิดผลอย่างไรตามมาบ้าง ส่วนสาเหตุของความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้ผมเองก็ไม่อาจที่จะทราบได้จริงๆ ว่าเกิดจากเหตุผลใดกันแน่แต่ก็อาจจะเกิดได้จากหลายสาเหตุอยู่เหมือนกัน เช่น ขั้นตอนของการผลิตที่ไม่ดี ขั้นตอนของการขนส่งอาจจะทำไม่ถูกต้องตามหลักในการขนส่งเสาเข็ม ขั้นตอนในการกองเก็บเสาเข็มอาจจะทำไม่ถูกต้องตามหลักในการกองเก็บเสาเข็ม เป็นต้นนะครับ

ดังนั้นข้อแนะนำประการสุดท้ายที่ผมอยากจะขอทิ้งท้ายและให้เป็นข้อคิดกับเพื่อนๆ นั่นก็คือ เมื่อได้มีการลำเลียงนำเอาเสาเข็มเข้ามาที่หน้างานแล้ว สิ่งหนึ่งที่จะเพื่อนๆ จะสามารถทำได้เพื่อช่วยป้องกันมิให้เสาเข็มของเรานั้นเกิดความเสียหายจากการกองเก็บได้ก็คือ เราจะต้องทำการกองเก็บให้ถูกต้องตามหลักวิธีการในการกองเก็บด้วย เช่น หากเราไม่ได้ใช้ตัวแท่นรองเสาเข็มในการกองเก็บตัวเสาเข็ม ก็จะเป็นการดีกว่าอย่างแน่นอนแต่สิ่งที่ต้องพึงระวังก็คือ พื้นที่ทำการวางจะต้องได้ระดับและมีความเรียบและสม่ำเสมอดี โดยหากว่ามีความจำเป็นที่จะต้องใช้แท่นรองเสาเข็มเพื่อช่วยทำให้สามารถทำการเคลื่อนย้ายและยกเสาเข็มได้โดยง่ายจริงๆ สิ่งที่ไม่ควรทำก็คือ การวางซ้อนเสาเข็มด้วยจำนวนชั้นที่สูงมากจนเกินไปนัก อีกประการหนึ่งก็คือ ระยะของแท่นรองเสาเข็มก็ควรที่จะต้องอยู่ในตำแหน่งที่มีความถูกต้องและเหมาะสมด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะทำให้เสาเข็มนั้นไม่เกิดรอยแตกร้าวอันเนื่องมาจากไม่สามารถต้านทานแรงดัดที่เกิดขึ้นได้ เป็นต้นนะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

 

#โพสต์วันพฤหัสบดี

#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็ม

#ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบความเสียหายของโครงสร้างเสาเข็มและวิธีในการกองเก็บที่ถูกต้องที่เหมาะสม

 

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com