“ถาม-ตอบชวนสนุก” ปัญหาการคำนวณค่าแรงอัดวิกฤติของออยเลอร์ของชิ้นส่วนโครงสร้างที่ต้องทำหน้าที่ในการรับแรงอัด

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันเสาร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ถาม-ตอบชวนสนุก” กันนะครับ
โดยที่ในวันนี้ประเด็นที่ผมได้เลือกนำเอามาตั้งเป็นคำถามประจำสัปดาห์นั้นจะมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง ที่ผมได้ทำการโพสต์ถึงในสัปดาห์ที่ผ่านมาและก็เหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ


ในรูปๆ นี้เพื่อนๆ จะเห็นได้ว่าเป็นรูปแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของชิ้นส่วนโครงสร้างที่ต้องทำหน้าที่ในการรับแรงอัดโครงสร้างหนึ่ง ซึ่งที่ปลายด้านล่างและด้านบนนั้นจะมีลักษณะของจุดต่อเป็นแบบยึดหมุนหรือ PINNED SUPPORT ทั้งคู่เลย โดยที่โครงสร้างเสาต้นนี้จะมีความยาวทั้งสิ้นเท่ากับ 6.00 M มีค่าโมดูลัสความยืดหยุ่น หรือ ELASTIC MODULUS เท่ากับ 2×10^(6) KSC และมี ค่าโมเมนต์ความเฉื่อย หรือ MOMENT OF INERTIA เท่ากับ 5,000 CM^(4) คำถามในวันนี้ก็สุดแสนที่จะง่ายดายมากๆ เลยนั่นก็คือ หากผมกำลังทำการออกแบบโครงสร้างที่ต้องทำหน้าที่ในการรับแรงอัดนี้อยู่และพบว่า ผมต้องการควบคุมให้ค่าแรงอัดวิกฤติของออยเลอร์ของเสาต้นนี้ออกมีค่าไม่น้อยไปกว่า 2,400 T ผมจะต้องเลือกทำการค้ำยันทางด้านข้างให้แก่โครงสร้างเสาต้นนี้ทุกๆ ระยะเท่าใด และ จะต้องใช้จำนวนของการค้ำยันทั้งหมดกี่จุดครับ?

ยังไงเพื่อนๆ ก็อย่าลืมนะครับ กติกาของการร่วมสนุกในเกมๆ นี้คือก่อนที่จะตอบ เพื่อนๆ จะต้องแจ้งอีเมลล์ของเพื่อนๆ ก่อนเสมอนะครับ มิเช่นนั้นผมจะถือว่าผิดกติกานะครับ ทั้งนี้เพื่อนๆ ยังสามารถที่จะให้เหตุผลต่างๆ หรือ อาจจะทำการสเก็ตช์ภาพประกอบคำตอบเพื่อใช้อธิบายเพิ่มเติมได้ แล้วยังไงวันพรุ่งนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการเฉลยคำถามข้อนี้ให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนได้รับทราบพร้อมๆ กันนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันเสาร์
#ถามตอบชวนสนุก
#ปัญหาการคำนวณค่าแรงอัดวิกฤติของออยเลอร์ของชิ้นส่วนโครงสร้างที่ต้องทำหน้าที่ในการรับแรงอัด
ADMIN JAMES DEAN


คำตอบ

เป็นอย่างไรกันบ้างเอ่ย หากเพื่อนๆ ได้มีโอกาสย้อนกลับไปอ่านโพสต์ของผมเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาก็จะเห็นได้ว่าคำถามข้อนี้นั้นง่ายมากๆ เลยใช่มั้ย ดังนั้นวันนี้เราจะมาทำการคำนวณไปพร้อมๆ กันว่าหากผมต้องการที่จะควบคุมให้ค่าแรงอัดวิกฤติของออยเลอร์ของเสาต้นนี้ออกมีค่าไม่น้อยไปกว่า 2400 T ผมจะต้องเลือกทำการค้ำยันทางด้านข้างให้แก่โครงสร้างเสาต้นนี้ทุกๆ ระยะเท่าใด และ จะต้องใช้จำนวนของการค้ำยันทั้งหมดกี่จุดไปพร้อมๆ กันนะครับ
ก่อนอื่นเรามาเริ่มต้นที่สมการตั้งต้นของเราก่อนนั่นก็คือ สมการค่าแรงอัดวิกฤติของออยเลอร์ ซึ่งก็จะมีหน้าตาของสมการดังต่อไปนี้
Pcr=π^(2)×E×I/[K×Lu ]^(2)EQ.(1)

ซึ่งเราทราบว่าค่า K ทั้งสองค่าสำหรับกรณีนี้ก็จะมีค่าที่เท่าๆ กัน นั่นก็คือมีค่าเท่ากับ 1.00 ดังนั้นหากเราแทนค่า K ดังกล่าวเข้าไปใน EQ.(1) เราก็จะได้ค่าของแรงอัดวิกฤติของออยเลอร์ของเจ้าชิ้นส่วนโครงสร้างที่ต้องทำหน้าที่ในการรับแรงอัดโครงสร้างนี้ซึ่งก็จะมีค่าเท่ากับ
Pcr=π^(2)×E×I/[K×Lu]^(2)
Pcr=π^(2)×E×I/[1.00×Lu]^(2)
Pcr=π^(2)×E×I/[1.00^(2)×Lu^(2)] Pcr=π^(2)×E×I/[1.00×Lu^(2)] Pcr=π^(2)×E×I/Lu^(2)EQ.(2)

ในเมื่อผมทราบดีอยู่แล้วว่าคุณสมบัติต่างๆ ของวัสดุนั้นเป็นอย่างไร และ เราต้องการที่จะควบคุมให้ค่าแรงอัดวิกฤติของออยเลอร์ของเสาต้นนี้ออกมีค่าไม่น้อยไปกว่า 2400 T ดังนั้นเราก็เพียงแค่ทำการแก้สมการหาค่า Lu ออกมา ซึ่งก็สามารถที่จะคำนวณออกมาได้โดยง่าย
Pcr ≥ π^(2)×E×I/Lu^(2)
2,400×1,000=π^(2)×2×10^(6)x5,000/Lu^(2)
Lu^(2)≤π^(2)×2×10^(6)x5,000/2,400,000
Lu≤√(π^(2)×2×10^(6)x5,000/2,400,000)
Lu≤202CM
Lu≈200CM
Lu=2.00M

สรุปก็คือ เพื่อเป็นการควบคุมให้ค่าแรงอัดวิกฤติของออยเลอร์ของเสาต้นนี้ออกมีค่าไม่น้อยไปกว่า 2400 T เราจะต้องเลือกทำการค้ำยันทางด้านข้างให้แก่โครงสร้างเสาต้นนี้ทุกๆ ระยะไม่เกิน 2.00 M และ จะต้องใช้จำนวนของการค้ำยันทั้งหมด 2 จุด ด้วยกันครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันอาทิตย์
#ถามตอบชวนสนุก
#ตอบปัญหาการคำนวณค่าแรงอัดวิกฤติของออยเลอร์ของชิ้นส่วนโครงสร้างที่ต้องทำหน้าที่ในการรับแรงอัด
ADMIN JAMES DEAN


Bhumisiam (ภูมิสยาม)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) 

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 
☎️ 082-790-1448 
☎️ 082-790-1449 
☎️ 091-9478-945 
☎️ 091-8954-269 
☎️ 091-8989-561
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam