จุดหมุนพลาสติก (PLASTIC HINGE)

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง คอนกรีต (STRUCTURAL CONCRETE ENGINEERING DESIGN หรือ SCE) นะครับ

สืบเนื่องจากโพสต์ก่อนหน้านี้ของผมเกี่ยวกับเรื่อง การฝังยึดโครงสร้าง เสา คสล ในจุดรองรับแบบต่างๆ กัน ซึ่งในโพสต์ๆ นั้นมีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกันกับประเด็นๆ หนึ่งที่มีเพื่อนของเราท่านหนึ่งมีความสนใจพอดี โดยที่เพื่อนท่านนี้ได้แจ้งกับผมมาว่า อยากที่จะให้ผมช่วยทำการอธิบายเพิ่มเติมว่า จุดหมุนพลาสติก (PLASTIC HINGE) นั้นจริงๆ แล้วคืออะไร ?

ดังนั้นในวันนี้ผมจะมาอธิบายถึงประเด็นๆ นี้ให้แก่เพื่อนท่านนี้รวมถึงเพื่อนๆ ทุกๆ คนให้ได้รับทราบไปพร้อมๆ กัน

เมื่อเราพูดถึงคำว่า จุดหมุนพลาสติก เรามักที่จะได้ยินว่าเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในโครงสร้างองค์อาคารในส่วนที่เป็น คาน (BEAM ELEMENT) แต่ เอาเข้าจริงๆ แล้ว จุดหมุนพลาสติก นั้นสามารถที่จะเกิดขึ้นได้ในชิ้นส่วนองค์อาคารส่วนอื่นๆ ก็ได้นะครับ เช่น เสา (COLUMN ELEMENT) หรือ กำแพงรับแรงเฉือน (SHEAR WALL) เป็นต้น

ซึ่งสาเหตุนั้นเป็นเพราะว่า คาน นั้นถือได้ว่าเป็นส่วนประกอบของโครงสร้างที่สำคัญชิ้นส่วนหนึ่งในการรับ นน เนื่องมาจากว่า คาน นั้นเป็นโครงสร้างที่จะทำหน้าที่ในการรองรับ นน ของพื้นอาคารในชั้นนั้นๆ แล้วก็ค่อยทำการถ่าย นน ลงสู่ เสา ที่ทำหน้าที่รองรับคานต่อไป

ซึ่งตามหลักการในการออกแบบโครงสร้างต้านทางแรงกระทำจากแผ่นดินไหวนั้นเราต้องทำการควบคุมให้ คาน นั้นเกิดการ วิบัติแบบเหนียว (DUCTILE FAILURE) ก่อนที่ เสา จะพัฒนากำลังไปถึงจุดวิบัติ หรือ พูดง่ายๆ คือ เราควรที่จะต้องทำการออกแบบให้เป็นไปตามหลักการของโครงสร้างที่มี เสาแข็ง และ คานอ่อน (STRONG COLUMN & WEAK BEAM) นั่นเอง

เมื่อแรงสั่นสะเทือนจากคลื่นของแผ่นดินไหวนั้นกระทำต่อโครงสร้างเราจึงมักที่จะทำการกำหนดให้ คาน นั้นเป็นองค์อาคารที่ทำหน้าที่ในการสลายพลังงาน (ENERGY DISSIPATION) อันเนื่องมาจากแรงกระทำของแผ่นดินไหว ดังนั้นเราจึงต้องการที่จะทำการออกแบบโดยให้ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นนั้นเป็นไปในลักษณะที่เหล็กเสริม (REINFORCED BARS) ด้านที่รับแรงดึง (TENSION FIBER) ที่บริเวณด้านปลายของ คาน นั้นเกิดการ คราก (YIELD) ก่อนการ วิบัติของตัววัสดุคอนกรีต (CONCRETE) ด้านที่รับแรงอัด (COMPRESSION FIBER) นะครับ

โดยหากเกิดปรากฎการณ์นี้ขึ้นเมื่อใด เราจะเรียกรูปแบบของการวิบัติแบบนี้ว่าการ วิบัติแบบเหนียว ซึ่งภายในบริเวณที่เกิดการ วิบัติแบบเหนียว ดังกล่าวนี้เราจึงมักที่จะเรียกว่า “จุดหมุนพลาสติก” และ ถ้าหากว่า คาน มีการพัฒนากำลังไปถึงจุด คราก ได้ก่อนการวิบัติแบบอื่นๆ เช่น การวิบัติแบบเปราะ (BRITTLE FAILURE) หรือ การวิบัติด้วยแรงเฉือน (SHEAR FAILURE) เป็นต้น คาน ก็จะเกิดการเสียรูปเป็นอย่างมาก และ ในที่สุดก็จะช่วยเหนี่ยวนำให้โครงสร้างของเรานั้นเกิดการสลายพลังงานจากแรงกระทำอันเนื่องมาจากคลื่นแผ่นดินไหวได้

ดังนั้นรายละเอียดของการเสริมเหล็กในโครงสร้าง คาน เพื่อที่จะช่วยให้อำนวยต่อการเกิดพฤติกรรมดังกล่าวได้นั้น เราจะต้องทำการเสริมด้วย เหล็กปลอก (STIRRUP) ที่บริเวณปลายของ คาน ให้มีระยะความถี่ที่มากเป็นพิเศษ เฉกเช่นเดียวกันกับส่วนโครงสร้าง เสา

เป็นอย่างไรบ้างครับ ? ผมคิดว่าการที่ผมอธิบายไปพอสังเขปในโพสต์ๆ นี้ก็น่าที่จะทำให้เพื่อนหลายๆ คนได้ทำความรู้จักกันกับ จุดหมุนพลาสติก มากยิ่งขึ้นแล้วนะครับ และ หากเพื่อนๆ ยังมีข้อสงสัยใดๆ อีกก็เรียนเชิญสอบถามเข้ามาได้เลยนะครับ หากผมมีเวลา และ สะดวก ผมก็มีความยินดีที่จะช่วยตอบให้เสมอครับ

ปล ผมต้องขอขอบคุณรูปภาพประกอบจาก INTERNET ซึ่งผมอ้างอิงมาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกันกับเรื่อง RC BEAM-COLUMN CONNECTIONS มา ณ โอกาสนี้ด้วย

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com