การคำนวณหาค่าการทรุดตัวของเสาเข็ม ในกรณีที่โครงสร้างเสาเข็มเป็นเสาเข็มเดี่ยว

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ

 

ตามที่ผมได้แจ้งเอาไว้กับเพื่อนๆ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าวันนี้ผมอยากจะขออนุญาตหยิบยกและนำเอาตัวอย่างของการคำนวณหาค่าการทรุดตัวของเสาเข็ม ในกรณีที่โครงสร้างเสาเข็มของเรานั้นเป็นเสาเข็มเดี่ยวให้เพื่อนๆ ได้รับชมกัน ดังนั้นวันนี้ผมจึงจะขอหยิบยกเอากรณีของการคำนวณจริงๆ ที่ผมเคยทำเอาไว้เพื่อที่จะใช้ในการตรวจสอบหาค่าการทรุดตัวของเสาเข็มมาใช้เป็นตัวอย่าง โดยผมขอสรุปปัญหาและข้อมูลให้เพื่อนๆ ได้ทราบดังต่อไปนี้นะครับ

ผมมีเสาเข็มไมโครไพล์ต้นหนึ่งดังแสดงอยู่ในรูปที่ 1 ซึ่งเสาเข้มต้นนี้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ 230 มม และมีความยาวทั้งหมดของเสาเข็มที่ฝังตัวอยู่ในดินเท่ากับ 24 ม โดยที่คอนกรีตที่ใช้ในการก่อสร้างเสาเข็มต้นนี้จะมีค่ากำลังอัดประลัยของคอนกรีตที่อายุ 28 วัน โดยอ้างอิงจากผลการทดสอบจากตัวอย่างรูปทรงกระบอกมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 400 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร

 

จากผลการสำรวจดินพบว่า เสาเข็มต้นนี้ต้องฝังตัวผ่านชนิดของดิน 3 ชั้นหลักๆ ทั้งนี้ข้อมูลของขนาดความยาวของเสาเข็มที่ฝังตัวอยู่ในดินชั้นที่ 1 2 และ 3 จะมีค่าเท่ากับ 7 ม 11 ม และ 6 ม ตามลำดับโดยที่ตัวดินเองจะมีความสามารถในการรับกำลังเสียดทานที่ผิวของดินในชั้นที่ 1 2 และ 3 เท่ากับ 4 ตัน 11 ตัน และ 10 ตัน ตามลำดับ ตัวดินเองจะมีความสามารถในการรับกำลังแบกทานที่ปลายล่างสุดของเสาเข็มและค่าโมดูลัสยืดหยุ่นของดินซึ่งในที่นี้ย่อมหมายถึงดินชั้นที่ 3 จะมีค่าเท่ากับ 8 ตัน และ 2000 ตันต่อตารางเมตร สุดท้ายก็คือค่าอัตราส่วนปัวซองของดินจะมีค่าเท่ากับ 0.30

 

จากข้อมูลข้างต้นจงทำการคำนวณว่า หากเราทราบว่าเสาเข็มต้นนี้จะมีความสามารถในการรับน้ำหนักสูงสุดเท่ากับ 40 ตันและเราได้ทำการกำหนดให้ใช้เสาเข็มต้นนี้ในการรับน้ำหนักใช้งานปลอดภัยตามที่ผลการทดสอบดินได้ทำการคำนวณเอาไว้ เสาเข็มต้นนี้จะมีค่าการทรุดตัวมากกว่าค่าการทรุดตัวที่ยอมให้ซึ่งกำหนดให้ใช้เท่ากับ 20 มม หรือไม่ ?

 

เอาละ เรามาเริ่มต้นทำการคำนวณกันเลยดีกว่า โดยอาจจะเริ่มต้นจากการคำนวณค่าพารามิเตอร์พื้นฐานต่างๆ ของเสาเข็มกันก่อน ซึ่งอาจจะเริ่มต้นจาก

Lp = ค่าความยาวของเสาเข็ม
Lp = 24 M
Lp = 24000 MM

Dp = ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเสาเข็ม
Dp = 230 MM

P = ขนาดเส้นรอบรูปของเสาเข็ม
P = 230 x 4
P = 920 MM

Ap = ขนาดพื้นที่หน้าตัดของเสาเข็ม
Ap = 230×230
Ap = 52900 MM^(2)

Fcp’ = ค่ากำลังอัดประลัยของคอนกรีตที่ใช้ทำเสาเข็ม
Fcp’ = 400 KSC

Ep = ค่าโมดูลัสยืดหยุ่นของเสาเข็ม
Ep = 15100 x √(Fcp’)
Ep = 15100 x √(400)
Ep = 302000 KSC
Ep ≈ 3 T/MM^(2)

 

ต่อมาก็คือ การคำนวณค่าพารามิเตอร์พื้นฐานต่างๆ ของดินบ้าง ซึ่งอาจจะเริ่มต้นจาก

∆(ALLOW) = ค่าการทรุดตัวที่ยอมให้ของเสาเข็ม
∆(ALLOW) = 20 MM

μ = อัตราส่วนปัวซองของดิน
μ = 0.30

Es = ค่าโมดูลัสยืดหยุ่นของดินชั้นที่รับแรงแบกทาน
Es = 2000 T/M^(2)
Es = 0.002 T/MM^(2)

สุดท้ายก็คือ การคำนวณค่าพารามิเตอร์พื้นฐานต่างๆ ของการรับกำลังของดินและเสาเข็ม ซึ่งก็อาจจะเริ่มต้นจาก

Q(MAX.) = 40 T

Q(B) = กำลังรับแรงแบกทานปลอดภัยของเสาเข็ม
Q(B) = Q(B1) + Q(B2) + Q(B3)
Q(B) = 0 + 0 + 8
Q(B) = 8 T

Q(F) = กำลังรับแรงฝืดปลอดภัยของเสาเข็ม

Q(F) = Q(F1) + Q(F2) + Q(F3)
Q(F) = 4 + 11 + 10
Q(F) = 25 T

Q(T) = กำลังรับแรงปลอดภัยทั้งหมดของเสาเข็ม
Q(T) = Q(B) + Q(F)
Q(T) = 8 + 25
Q(T) = 33 T

 

ดังนั้น

Q(T) < Q(MAX.)

33 T < 40 T <<<OK>>>

 

เมื่อเป็นเช่นนี้เราก็สามารถเริ่มต้นทำการคำนวณหาค่าของการทรุดตัวเนื่องจากปัจจัยต่างๆ ไปทีละค่าๆ ก็แล้วกัน โดยที่เราอาจจะเริ่มต้นจากค่า ∆(E) ก่อน ซึ่งค่า ∆(E) ก็คือ ค่าการทรุดตัวของเสาเข็มเนื่องจากคุณสมบัติความยืดหยุ่นตัวของตัวโครงสร้างเสาเข็มเอง โดยที่สมการที่ใช้ในการทำการคำนวณหาค่าๆ นี้ก็คือ

∆(E) = [ Q(B) + ξ x Q(F) ] x Lp / ( Ap x Ep )

 

โดยที่ค่า ξ ก็คือค่าสัมประสิทธิ์เนื่องจากการกระจายตัวของหน่วยแรงฝืดตลอดความยาวของเสาเข็ม ซึ่งอาจจะหาได้จากรูปที่ 2 ที่ได้แนบอยู่ในโพสต์ๆ นี้ ซึ่งจากการพิจารณาข้อมูลดินแล้วพบว่า ยิ่งชั้นดินมีความลึกที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น ก็จะยิ่งมีค่าแรงฝืดที่เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งก็จะสอดคล้องกันกับรูปทางด้านขวามือ ดังนั้นผมจะเลือกกำหนดให้ค่า ξ นั้นมีค่าเท่ากับ 0.67 ดังนั้นเราก็จะสามารถทำการคำนวณหาค่าของ ∆(E) ออกมาได้เท่ากับ

∆(E) = [ Q(B) + ξ x Q(F) ] x Lp / ( Ap x Ep )

∆(E) = [ 8 + 0.67 x 25 ] x 24000 / ( 52900 x 3 )

∆(E) = 3.74 MM

 

ต่อมาก็คือทำการคำนวณหาค่า ∆(B) กันต่อ ซึ่งค่า ∆(B) ก็คือ ค่าการทรุดตัวของเสาเข็มเนื่องจากน้ำหนักที่กระทำที่ปลายของโครงสร้างเสาเข็ม โดยที่สมการที่ใช้ในการทำการคำนวณหาค่าๆ นี้ก็คือ

∆(B) = σ(B) x Dp x INF(B) x [ 1 – μ^(2) ] / Es

สำหรับค่า σ(B) ก็คือ หน่วยแรงแบกทานที่เกิดขึ้นที่ปลายของเสเข็ม ซึ่งก็คำนวณได้ง่ายๆ จาก

σ(B) = Q(B) / Ap
σ(B) = 8 / 52900
σ(B) = 1.512×10^(-4) T/MM^(2)

 

ส่วนค่า INF(B) ก็คือ ค่าแฟคเตอร์เนื่องจากกำลังแบกทานของดิน ซึ่งสำหรับกรณีของเสาเข็มและดินทั่วๆ ไปนั้น เราอาจจะเลือกทำการกำหนดให้ใช้ค่าของ INF(B) เท่ากับ 0.85 ก็ได้ ดังนั้นเราก็จะสามารถทำการคำนวณหาค่าของ ∆(B) ออกมาได้เท่ากับ

∆(B) = σ(B) x Dp x INF(B) x [ 1 – μ^(2) ] / Es

∆(B) = 1.512×10^(-4) x 230 x 0.85 x [ 1 – 0.30^(2) ] / 0.002

∆(B) = 13.45 MM

 

ค่าสุดท้ายก็คือค่า ∆(F) ซึ่งค่า ∆(F) ก็คือ ค่าการทรุดตัวของเสาเข็มเนื่องจากน้ำหนักที่กระทำตลอดความยาวของโครงสร้างเสาเข็ม โดยที่สมการที่ใช้ในการทำการคำนวณหาค่าๆ นี้ก็คือ

∆(F) = Q(F) x Dp x INF(F) x [ 1 – μ^(2) ] / ( P x Lp x Es )

สำหรับค่า INF(F) ก็คือ ค่าแฟคเตอร์เนื่องจากแรงฝืดของดิน ซึ่งเราจะสามารถทำการคำนวณหาค่าๆ นี้ได้ง่ายๆ จากสมการ

INF(F) = 2 + 0.35 √(Lp / Dp)
INF(F) = 2 + 0.35 √(24000 / 230)
INF(F) = 5.575

 

ดังนั้นเราก็จะสามารถทำการคำนวณหาค่าของ ∆(F) ออกมาได้เท่ากับ

∆(F) = Q(F) x Dp x INF(F) x [ 1 – μ^(2) ] / ( P x Lp x Es )

∆(F) = 25 x 230 x 5.575 x [ 1 – 0.30^(2) ] / ( 920 x 24000 x 0.002 )

∆(F) = 0.66 MM

 

จากรายการคำนวณทั้งหมดข้างต้น เราจึงอาจที่จะสามารถทำการคำนวณหาค่าการทรุดตัวทั้งหมดของโครงสร้างเสาเข็มไมโครไพล์ต้นนี้จะมีค่าเท่ากับ

∆(T) = ∆(E) + ∆(B) + ∆(F)

∆(T) = 3.74 + 13.45 + 0.66

∆(T) = 17.85 MM

 

ดังนั้นหากหากเราทำการเปรียบเทียบค่าของ ∆(T) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 17.85 มม กับค่าของ ∆(ALLOW) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 20 มม เราก็จะสามารถสรุปได้ว่า ค่าการทรุดตัวของโครงสร้างเสาเข็มไมโครไพล์ต้นนี้อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้

∆(T) < ∆(ALLOW)

17.85 MM < 20 MM <<<OK>>>

 

เอาเป็นว่าในครั้งต่อไปที่เราจะมาพบกัน ผมอยากจะขออนุญาตมาพูดและอธิบายต่อถึงวิธีในการคำนวณหาค่าการทรุดตัวของเสาเข็ม ในกรณีที่โครงสร้างเสาเข็มของเรานั้นเป็นเสาเข็มกลุ่มให้เพื่อนๆ ได้รับทราบกันต่อก็แล้วกัน โดยหากว่ามีเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษก็สามารถที่จะติดตามได้ในการพบกันครั้งต่อๆ ไปของเราได้นะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์ของวันพุธ
#ความรู้เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง
#การทรุดตัวของเสาเข็ม
#ครั้งที่สอง

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com