การคำนวณการรับน้ำหนักปลอดภัยของเสาเข็มยาว

การคำนวณการรับน้ำหนักปลอดภัยของเสาเข็มยาว

micropile spun micropile ไมโครไพล์ สปันไมโครไพล์เสาเข็มต่อเติม ตอกเสาเข็ม เสาเข็มตอก

ความยาวของเสาเข็มที่เราใช้นั้นเริ่มที่จะไม่ค่อยสอดคล้องกันกับข้อเท็จจริงๆ ที่เป็นแล้ว เพราะ หากว่าเราใช้ความยาวเสาเข็มที่มีความยาวมากๆ ปลายของเสาเข็มของเรานั้นจะมีโอกาสที่จะหยั่งอยู่บนชั้นดินที่มีความแข็งแรงจนสามารถที่จะเรียกได้ว่าเป็นเสาเข็มรับแรงแบกทาน (END BEARING PILE) ได้นะครับ สรุปง่ายๆ คือ ต่อให้เราใช้เสาเข็มที่มีความยาวมากขนาดไหน ค่ากำลังการรับน้ำหนักของเสาเข็มนั้นจะสามารถคำนวณได้ก็จะมีโอกาสที่จะออกมาต่ำกว่าความเป็นจริงค่อนข้างสูงนั่นเองนะครับ

เรามาดูตัวอย่าง วันนี้กันดีกว่านะครับ โดยตัวอย่าง ในวันนี้เราจะมาดูเสาเข็มสี่เหลี่ยมตันขนาด สผก เท่ากับ 220 มม โดยที่ในตารางๆ นี้จะระบุข้อมูลให้ทราบด้วยว่าเสาเข็มแต่ละหน้าตัดนั้นมีขนาด พท หน้าตัด และ เส้นรอบรูป และ ค่าความสามารถในการรับน้ำหนักของเสาเข็มที่ค่าความลึกของเสาเข็มที่แตกต่างกันเป็นเท่าใดนะครับ

ซึ่งความยาว L ที่ผมเลือกนำมาใช้ประกอบใน ตย นี้จะเท่ากับ 21 M นะครับ โดยในตารางๆ นี้ได้ระบุเอาไว้ว่าเสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน ขนาด สผก เท่ากับ 220 มม ความลึกเท่ากับ 21 เมตร จะสามารถรับ นน ได้เท่ากับ 30 TONS วันนี้เราจะมาทำการคำนวณหาค่า นน บรรทุกนี้ด้วยหลักการตามที่ได้ระบุเอาไว้ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครข้อ 67 กันนะครับ

ข้อมูลจากตารางๆ นี้ระบุเอาไว้ว่าเสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน ขนาด สผก เท่ากับ 220 มม นั้นจะมีเส้นรอบรูปเท่ากับ 88 CM หรือ 0.88 เมตร นะครับ ดังนั้นสำหรับความลึกเท่ากับ 7 เมตร ค่าหน่วยแรงฝืด f ของเสาเข็มจะมีค่าเท่ากับ 600 KSM นะครับ โดยเราอาจเขียนได้ว่า

f1 = 600 KSM = 0.60 TSM

สำหรับความลึกตั้งแต่ 7 เมตร ลงไปจนถึง 21 เมตร ดังนั้นค่า L ในสมการการหาแรงฝืดของชั้นดินจึงมีค่าเท่ากับ 21-7 = 14 เมตร ค่าหน่วยแรงฝืด f’ ของเสาเข็ม ณ ค่าความลึก L จะมีค่าเท่ากับ 800 + 200 (14) = 3,600 KSM โดยเราอาจเขียนได้ว่า

f’ = 3,600 KSM = 3.60 TSM

ดังนั้นเพื่อให้การคำนวณนั้นทำได้ง่ายๆ เราจะต้องทำการคำนวณหาค่าหน่วยแรงฝืด f2 เฉลี่ยออกมานะครับ โดยเราอาจเขียนได้ว่า

f2 = (0.60 + 3.60) / 2 = 2.20 TSM

ดังนั้นหากคำนวณตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครข้อ 67 ค่าความสามารถในการรับ นน บรรทุกปลอดภัยของเสาเข็มจึงมีค่าเท่ากับ

Pa = ∑ Po f L = 0.88 (0.60×7 + 2.20×14) = 30.8 TONS ≈ 30 TONS

จะเห็นได้ว่า นน บรรทุกที่คำนวณได้นั้นจะมีค่าเท่ากับค่าที่ได้ระบุเอาไว้ในตารางเลยนะครับ ดังนั้นในตอนท้ายนี้ผมจึงอยากที่จะขอเน้นย้ำอีกครั้งนะครับว่า การทดสอบคุณสมบัติของดินนั้นเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากๆ ในโครงการงานก่อสร้างของเรานะครับ เพราะ นอกจากจะทำให้เราทราบคุณสมบัติจริงๆ ของชั้นดินแล้ว การทดสอบดินยังจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกเราได้อย่างแม่นยำอีกด้วยนะครับว่าค่าการรับ นน บรรทุกของเสาเข็มที่เราทำการประมาณค่ามาตั้งแต่แรกนั้นมีความถูกต้อง หรือ เหมาะสมมากน้อยเพียงใดนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1580969728615813

BSP-Bhumisiam

ผู้ผลิตรายแรก SPUN MICRO PILE
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. มาตราฐาน397-2524 เสาเข็ม Spun Micro Pile
2) ผู้ผลิต Spun Micro Pile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตราฐาน จาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun Micro Pile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun Micro Pile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมันนี
6) ผู้ผลิต Spun Micro Pile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile)
สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449

ID LINE :
LINE ID1 = bhumisiam
LINE ID2 = 0827901447
LINE ID3 = 0827901448
LINE ID4 = bsp15

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด
http://www.ไมโครไพล์.com

#Micropile
#SpunMicropile
#ไมโครไพล์
#สปันไมโครไพล์
#เสาเข็มไมโครไพล์
#เสาเข็มสปันไมโครไพล์