การออกแบบวิศวกรรมงานดินและฐานราก (GFE) ความรู้เกี่ยวกับทางก่อสร้าง โดย Bhumisiam SpunMicroPile

หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบวิศวกรรมงานดินและฐานราก (GEOTECHNICAL & FOUNDATION ENGINEERING DESIGN หรือ GFE)

หลังจากที่เมื่อวานผมได้มาแชร์ให้เพื่อนๆ ทราบกันไปแล้วว่าดินเองก็มีค่าโมดูลัสยืดหยุ่นเช่นเดียวกันกับวัสดุอื่นๆ ในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาพูดถึงวิธีในการคำนวณหาค่าโมดูลัสยืดหยุ่นของดินให้เพื่อนๆได้รับทราบกันบ้างนะครับ 
ก่อนอื่นต้องขออนุญาตเริ่มต้นอธิบายก่อนนะครับว่าถึงแม้ว่าดินที่เรากำลังพูดถึงนี้จะมีค่าโมดูลัสยืดหยุ่นเหมือนกันกับวัสดุอื่นๆ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าดิน นั้นจะมีคุณสมบัติอื่นๆ ที่เหมือนกันกับวัสดุอื่นๆ ทั้งหมดนะครับ พูดแบบนี้เพื่อนๆ คงจะไม่งงกันนะครับ เพราะอย่างที่เราทราบกันดีว่าในชั้นดินหนึ่งๆ นั้นจะมีเนื้อดินที่เหมือนๆ กัน หรือ ที่เราเรียกว่า ISOTROPIC SOIL และ ชั้นดินที่ไม่เหมือนกัน หรือ ที่เราเรียกว่า ANISOTROPIC SOIL ซ้ำร้ายกว่านั้นในตัวดินเองยังสามารถแบ่งออกได้เป็นอีกหลากหลายประเภทอีกต่างหาก เช่น ดินเหนียว ดินทราย ดินดาน ดินหิน เป็นต้น ซึ่งดินแต่ละชนิดที่อยู่ที่ระดับความลึกแตกต่างกันออกไปนั้น ก็จะมีคุณสมบัติที่มีความแตกต่างกันออกไปด้วย ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่เรากำลังพูดถึงค่าโมดูลัสยืดหยุ่นของดิน ผมก็ขอให้คำแนะนำเอาไว้ว่า อย่าลืมที่จะอ้างอิงไปเสียก่อนนะครับว่าเรากำลังพูดถึงชั้นดินประเภทใด และ ดินชนิดนี้อยู่ที่ความลึกเท่าใดด้วย เพียงเท่านี้ก็จะเป็นการป้องกันความเข้าใจผิดในประเด็นๆ นี้ได้ในระดับหนึ่งแล้วละครับ
 micropile-spun-micro-spunmicropile
ซึ่งหากจะให้ผมอธิบายถึงค่าโมดูลัสยืดหยุ่นของดินทุกๆ ประเภท พูดกันวันนี้ทั้งวันก็คงจะพูดกันไม่หมด เอาเป็นว่าในเมื่อพวกเราส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในเขตของ กทม และปริมณฑล ผมก็จะเลือกพูดถึงดินที่พวกเราจะมีโอกาสพบเจอกันบ่อยที่สุดนั่นก็คือ ดินเหนียว นั่นเองนะครับ
เนื่องจากหากเราจะพูดกันถึงเรื่องนี้แล้ว อาจจะมีเนื้อหาที่ค่อนข้างเยอะมากพอสมควรที่ต้องพูดถึงและอธิบาย ผมจึงขออนุญาตแบ่งการโพสต์ออกเป็น 2 โพสต์นั่นก็คือในวันนี้และวันพรุ่งนี้ก็แล้วกันนะครับ

เริ่มจากเมื่อใดก็ตามเราพูดถึงดินที่ได้รับการจำแนกว่าเป็น ดินเหนียว เราก็จะต้องทำการแยกให้ออกก่อนว่า พฤติกรรมของดินเหนียวนั้นจะมีด้วยกัน 2 แบบ ซึ่งได้แก่

(1) ดินเหนียวที่มีพฤติกรรมเป็นแบบ UNDRAINED
(2) ดินเหนียวที่มีพฤติกรรมเป็นแบบ DRAINED

ดังนั้นเมื่อเราจะทำการพิจารณาหาค่าความแข็งแกร่งของชั้นดินเหนียว หรือ STIFFNESS OF SOIL เมื่อใด เราก็จะต้องทำการแบ่งพฤติกรรมของดินเหนียวออกเป็น 2 กรณีข้างต้นเสียก่อนนะครับ

โดยที่เราจะสามารถทราบได้ว่าดินของเรานั้นจะมีพฤติกรรมเป็นเช่นไรนั้นเราจะต้องทำการเก็บตัวอย่างดินขึ้นมาก่อน จากนั้นก็นำดินนั้นๆ ไปทำการทดสอบในห้องปฏิบัติการและสุดท้ายคือทำการอ่านค่าจากแผนภูมิที่เทียบค่าระหว่างค่า PERMEABILITY กับระดับความลึกของตัวอย่างดินนะครับ

โดยที่ดินที่จะมีพฤติกรรมเป็นแบบ DRAINED นั้นจะต้องมีค่า PERMEABILITY หรือค่า k มากกว่าหรือเท่ากับ 1.00E-6 M/S ซึ่งเวลาที่เราคำนวณก็จะมีการใช้ PARAMETER ในการคำนวณเป็นแบบ DRAINED ส่วนดินที่เป็นแบบ UNDRAINED นั้นก็จะมีค่า k น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1.00E-8 M/S ซึ่งเวลาที่เราคำนวณก็จะมีการใช้ PARAMETER ในการคำนวณเป็นแบบ UNDRAINED และ สำหรับดินที่มีค่า k อยู่ระหว่างค่าทั้งสองนี้ถือได้ว่ามีพฤติกรรมเป็นแบบ ก้ำกึ่ง ซึ่งเวลาที่เราคำนวณก็จะเป็นแบบ DOUBLE WORK นั่นก็คือต้องใช้ PARAMETER ในการคำนวณจากทั้ง DRAINED และ UNDRAINED เลยนะครับ

สุดท้ายนี้ผมอยากจะขอฝากทิ้งท้ายเอาไว้ว่า หากบังเอิญว่าเพื่อนๆ อาจจะไม่ความสะดวก หรือ ไม่สามารถที่จะทำการเก็บข้อมูลของดินขึ้นมาทำการสำรวจเพื่อทำการทดสอบหาค่า PERMEABILITY ของดินตามที่ผมได้ทำการอธิบายเอาไว้ข้างต้น ผมก็ขอให้คำแนะนำไว้ว่า เราควรที่จะตั้งสมมติฐานว่าดินของเรานั้นมีพฤติกรรมเป็นแบบ DRAINED เอาไว้ก่อน เพราะ ลักษณะของดินที่มีพฤติกรรมเป็นแบบ DRAINED นั้นจะมีระดับของความวิกฤติที่ มากกว่า พฤติกรรมแบบ UNDRAINED ซึ่งนั่นก็จะส่งผลดีต่อการคำนวณ เพราะการทำเช่นนั้นจะเป็นการทำให้รายการคำนวณออกแบบเกี่ยวกับงานดินของเรานั้นมีค่าสัดส่วนความปลอดภัยที่มากยิ่งขึ้นเอาไว้ก่อนนั่นเองครับ

เอาเป็นว่าในวันถัดไป ผมจะขออนุญาตมาพูดถึงวิธีในการคำนวณหาค่าโมดูลัสยืดหยุ่นของดินให้จบในส่วนนี้ไปก่อนนะครับ หากเพื่อนๆ ท่านใดมีความสนใจในหัวข้อนี้เป็นพิเศษ ก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความฉบับต่อไปของผมได้ในวันพรุ่งนี้ต่อไปนะครับ

หวังว่าความรู้และประสบการณ์เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากและแชร์ให้แก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN
Bhumisiam ภูมิสยาม

Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
Mr.Micropile

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449

#ไมโครไพล์ #สปันไมโครไพล์ #เสาเข็มไมโครไพล์ #เสาเข็มสปันไมโครไพล์ #เสาเข็ม #ตอกเสาเข็ม #micropile #spunmicropile #microspunpile #spunpile #microspun