พัฒนาการของวิธีในการออกแบบโครงสร้าง คสล โดยอ้างอิงจากมาตรฐาน ACI
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่านครับ เนื่องจากที่ผ่านมา หนึ่งในหลายๆ คำถามที่ผมได้รับจากเพื่อนๆ คำถามหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบงานโครงสร้าง คสล เลยก็คือ วิธีในการออกแบบงานโครงสร้าง คสล เช่น ในปัจจุบันเรามีวิธีในการออกแบบวิธีการใดบ้าง เราควรใช้วิธีใดในการออกแบบ เป็นต้น วันนี้ผมจึงอยากจะมาเล่าให้ฟังถึงปัญหาข้อนี้นะครับ รวมถึงเล่าพอสังเขปถึงพัฒนาการของวิธีในการออกแบบโครงสร้าง คสล โดยอ้างอิงจากมาตรฐาน ACI กันครับ … Read More
ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ หัวข้อในวันนี้คือ พวกเราจะมีวิธีการอย่างไร หากมีความจำเป็นที่จะต้องทำการตอกเสาเข็มในบริเวณสถานที่ก่อสร้างโดยที่บริเวณนั้นๆ มีอาคารเดิมตั้งอยู่ก่อนหน้าแล้วนั่นเองนะครับ หากพูดถึงปัญหาๆ นี้เนื้อเรื่องจะค่อนข้างยืดยาวมากๆ ผมจึงจำเป็นที่จะต้องขออนุญาตทำการแบ่งการโพสต์ออกเป็นสัก 2 ครั้งก็แล้วกันนะครับ โดยในวันนี้ผมจะขอเริ่มต้นทำการอธิบายถึงในส่วนแรกก่อน นั่นก็คือ ขั้นตอนในการออกแบบและเตรียมการ สำหรับการทำงานการตอกเสาเข็มนะครับ … Read More
เสาเข็มต่อเติมภายในโรงงานหรืออาคารความสูงจำกัด แนะนำใช้เสาเข็มสปันไมโครไพล์ SPUN MICROPILE มอก. โดย ภูมิสยาม
เสาเข็มต่อเติมภายในโรงงานหรืออาคารความสูงจำกัด แนะนำใช้เสาเข็มสปันไมโครไพล์ SPUN MICROPILE มอก. โดย ภูมิสยาม ด้วยเหตุผล เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัย 20-40 ตันต่อต้น และเสาเข็มมีหลายขนาด 21, 23, 25, 30 ซม. และที่สำคัญ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน … Read More
การตอกเสาเข็มไมโครไพล์ ให้ลึกถึงระดับมาตรฐาน (BLOW COUNT)
การจะดูว่าการตอกเสาเข็มในแต่ละจุดว่าเสร็จสิ้นเรียบร้อยตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่นั้น มิใช่ดูแต่เพียงว่าเสาเข็มตอกจมมิดลงไปในดินเท่านั้น แต่จะต้องดูจำนวนครั้งในการตอกด้วย (Blow Count) ว่าเสาเข็มแต่ละต้นใช้จำนวนครั้งในการตอกเท่าใดจนเสาเข็มจมมิดดิน ถ้าจำนวนครั้งในการตอกน้อยเกินไป คือสามารถตอกลงไปได้ง่าย แสดงว่าความแน่นของดินที่จุดนั้นที่จะใช้ในการรับน้ำหนักยังไม่เพียงพอ อาจจะต้องมีการต่อเสาเข็มและตอกเพิ่มลงไปอีกจนกว่าจำนวนครั้งในการตอกจะเป็นไปตามที่กำหนด ในทางตรงกันข้ามถ้าจำนวนครั้งในการตอกมากเพียงพอแล้วแม้ว่าเสาเข็มที่ตอกนั้นจะยังจมไม่มิดก็อาจแสดงว่าความแน่นของดินที่จุดนั้นที่จะใช้ในการรับน้ำหนักเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นจะต้องตอกต่อลงไปอีก เพราะการฝืนตอกต่อไปอาจทำให้เสาเข็มแตกหักหรือชำรุดได้ ส่วนจำนวนครั้งในการตอกเสาเข็มแต่ละต้นควรจะเป็นเท่าใดนั้นวิศวกรจะเป็นผู้กำหนด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของพื้นที่หน้าตัดเสาเข็ม และความยาวของเสาเข็มนั้น ๆ