โฌแซ็ฟ-หลุยส์ ลากร็องฌ์ นักคณิตศาสตร์ในช่วงศตวรรษที่ 17

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้บุคคลคนที่ห้า ซึ่งน่าจะเป็นท่านสุดท้ายสำหรับการนำประวัติของท่านมาเล่าสู่กันฟังกับเพื่อนๆ ในช่วงนี้นะครับ ซึ่งเพื่อนๆ ก็คงจะทราบดีว่าบุคคลที่มีความสำคัญต่องานวิศวกรรมของเรานั้นยังมีอีกมากโข หากจะนำมาเล่าทั้งหมดก็คงไม่ไหว ที่ผมนำมานั้นเป็นเพียงหยิบมือเดียว ซึ่งเป็นท่านที่มีผลงานสำคัญๆ ต่อวิศวกรรมกลศาสตร์การคำนวณของเราเท่านั้นเองนะครับ โดยที่บุคคลใที่ผมนำประวัติของท่านมาฝากในวันนี้ท่านเป็นผู้รู้ เป็นนักวิชาการ และ เป็นนักคณิตศาสตร์ที่ต้องถือว่าเก่งมากท่านหนึ่งในช่วงศตวรรษที่ 17 เลยก็ว่าได้ครับ งานของท่านได้ส่งอิทธิพลต่อการคำนวณทางด้านต่างๆ อย่างมากมายหลากหลายวงการมากๆ โดยที่บุคคลท่านนี้ก็คือ โฌแซ็ฟ-หลุยส์ ลากร็องฌ์ ซึ่งผมจะขออนุญาตเรียกชื่อของท่านเพียงสั้นๆ ว่า ลากร็องฌ์ ละกันนะครับ

โฌแซ็ฟ-หลุยส์ ลากร็องฌ์ เกิดที่ประเทศฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1736 และ ท่านได้เสียชีวิตในวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1813 ชื่อเดิมของท่านคือ จูเซปเป โลโดวีโก ลากรันจา หากเขียนเป้ฯภาษาอิตาลีจะเขียนว่า Giuseppe Lodovico Lagrangia

ท่านเป็นนักคณิตศาสตร์ และ นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี ผู้ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ของเขาใน ปรัสเซีย และ ฝรั่งเศส ท่านได้สร้างผลงานสำคัญเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางด้านคณิตศาสตร์ไว้อย่างมากมาย รวมถึงทฤษฎีจำนวน กลศาสตร์ดั้งเดิม และ กลศาสตร์ท้องฟ้า ตามคำแนะนำของออยเลอร์ และ เดอลอมแบร์ โดยที่ ลากร็องฌ์ ได้สืบทอดตำแหน่งของออยเลอร์เมื่อปี ค.ศ. 1766 โดยท่านได้ดำรงค์ตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสาขาคณิตศาสตร์ ที่สถาบันวิชาการวิทยาศาสตร์ปรัสเซีย ในกรุงเบอร์ลิน ท่านใช้ชีวิตอยู่ที่นี่นานถึง 20 ปี และ ท่านได้สร้างผลงานต่างๆ ไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงท่านได้รับรางวัลทางด้านวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศสอีกหลายรางวัลเลยทีเดียว

ซึ่งหนึ่งในหลายๆ ผลงานที่เราชาววิศวกรมักจะได้ยินก็คือ LAGRANGE MULTIPLIER หรือ ค่าตัวคูณของลากร็องฌ์ นั่นเอง โดยฟังก์ชัน LAGRANGIAN จะเป็นฟังก์ชันที่ขึ้นอยู่กับค่า x1 , x2 , … , xn และ λ นั่นคือ L = L(x1,x2,…,xn,λ) การหาค่าที่เหมาะสมของฟังก์ชัน LAGRANGIAN ก็สามารถทำได้โดยการประยุกต์วิธีการหาค่าเหมาะสมของฟังก์ชันที่ได้กล่าวไว้ในบทที่ผ่านมา ซึ่งการหาค่าเหมาะสมของฟังก์ชันจะต้องทำการตรวจสอบเงื่อนไข 2 ประการ อันได้แก่ เงื่อนไขที่จำเป็นหรือเงื่อนไขอันดับที่หนึ่ง (NECESSARY CONDITIONS OF FIRST-ORDER CONDITION หรือ FOC) และ เงื่อนไขที่ยืนยัน หรือ เงื่อนไขอันดับที่สอง (SUFFICIENT CONDITIONS OF SECOND-ORDER CONDITION หรือ SOC) นั่นเอง

ผมต้องขอคารวะในความอุตสาหะและความรู้ที่ท่านได้คิดค้นขึ้นมา เพื่อที่พวกเราทุกๆ คนจะได้นำไปใช้ และ พัฒนาต่อยอดกันไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดมา ณ โอกาสนี้ด้วยนะครับ

อย่างที่ผมเรียนไปตั้งแต่ในตอนต้นนะครับว่ายังมีนักคณิตศาสตร์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ วิศวกร ที่ถือได้ว่าท่านได้ทำคุณงามความดีทางด้านการศึกษา และ งานวิจัยต่อวงการวิศวกรรมของเราอีกมากมายเลยนะครับ เพียงแต่เท่าที่ผมหยิบยกมานี้เป็นเพียงบุคคลเพียงไม่กี่ท่านเท่านั้นเอง หากเพื่อนๆ ท่านใดสนใจอัตชีวประวัติของบุคคลท่านอื่นๆ สามารถ SEARCH หาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก WEBSITE ทั่วๆ ไป เช่น GOOGLE หรือ WIKIPEDIA เป็นต้น ได้เลยนะครับ ผมเชื่อว่า WEBSITE เหล่านี้จะมีข้อมูลของบุคคลที่มีความสำคัญต่องานของเราอย่างมากมายให้เพื่อนๆ ได้ทำการศึกษาหาข้อมูลกันนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN