ตำแหน่งของระยะวิกฤติสำหรับการออกแบบแรงเฉือนในคาน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆท่าน

วันนี้ผมอยากที่จะขออนุญาตมาทำการยก ตย เพื่อที่จะขยายความคำอธิบายแก่เพื่อนๆ ถึงเรื่อง ตำแหน่งของระยะวิกฤติสำหรับการออกแบบแรงเฉือนในคาน นะครับ

ใน ตย นี้ผมขอยก ตย คาน คสล อันหนึ่งที่มีการวางตัวอย่างง่าย (SIMPLY SUPPORTED) ที่มีช่วงความยาวเท่ากับ 8 ม คานๆ นี้มีขนาดความลึกเท่ากับ 0.70 ม ทำให้มีระยะความลึกประสิทธิผล (d) โดยประมาณเท่ากับ 0.65 ม โดยที่คานๆ นี้รับ นน บรรทุกแบบเพิ่มค่าชนิดแผ่ (FACTORED DISTRIBUTED LOAD) กระทำที่ด้านบนของคานเท่ากับ 10 TONS/M และ คานๆ นี้ถูกรองรับด้วยเสา คสล ขนาดความกว้างเท่ากับ 0.50 x 0.50 ม

เราจะมาเริ่มต้นทำการวิเคราะห์โครงสร้างกันก่อนนะครับ เริ่มต้นที่ค่า SHEAR FORCE สูงสุดที่จะเกิดขึ้นที่ตำแหน่งศูนย์กลางของจุดรองรับกันก่อนนะครับ

Vu (MAXIMUM) = 10×8/2 = 40 TONS

ต่อมาเราจะมาคำนวณค่า SHEAR FORCE ที่จะใช้ในการออกแบบ ณ ตำแหน่งหน้าตัดวิกฤติกันนะครับ โดยที่ตำแหน่งนี้จะอยู่ที่ระยะ d จากขอบของเสา ดังนั้นระยะทั้งหมดจากตำแหน่งศูนย์กลางของจุดรองรับจนถึงหน้าตัดวิกฤติจะเท่ากับ 0.50/2 + 0.65 = 0.90 ม ทำให้ค่า SHEAR FORCE ที่จะใช้ในการออกแบบจะมีค่าเท่ากับ

Vu (DESIGN) = 40 – 10×0.9 = 31 TONS

หากสังเกตดูจะพบว่า Vu ที่เป็นค่า MAXIMUM และค่า Vu ที่เป็นค่าสำหรับการ DESIGN จะมีค่าที่แตกต่างกันมากเลยนะครับ โดยหากเทียบสัดส่วนออกมาจะพบว่าค่าที่ใช้ในการ DESIGN นั้นจะมีค่าแตกต่างออกไปจากค่า MAXIMUM ที่เรามักนำมาใช้ในการออกแบบเลยเท่ากับ (40-31)/40 x 100 = 22.5% เลยนะครับ

ที่ผมกล่าวให้ฟังมาทั้งหมดนี้จะเป็นไปตามทฤษฎีที่ CODE แนะนำให้เราใช้นะครับ ไม่ว่าจะเป็น ACI (AMERICAN CONCRETE INSTITUTE) หรือ EIT (ENGINEERING INSTITUTE OF THAILAND) ก็ตามนะครับ แต่ ในฐานะของผู้ออกแบบการที่เราจะทำตามข้อแนะนำข้อนี้หรือเปล่านั้นถือเป็นวิจารณญาณของเรานะครับ เพราะ ในการออกแบบนอกจากเรื่องความประหยัดที่เราควรต้องคำนึงถึงแล้ว เราเองยังจำเป็นที่จะต้องทำการพิจารณาถึงทุกๆ อย่างที่มีความเกี่ยวข้องด้วยนะครับ เช่น สภาพการทำงานของผู้รับจ้างที่หน้างาน และ สภาพแวดล้อมในการทำงานว่าจะสามารถทำการควบคุมปัจจัยต่างๆ ที่ใช้ในการออกแบบได้ดีมากน้อยเพียงใด เป็นต้นนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com