เครื่องมือ และ อุปกรณ์ ที่ใช้ในการทดสอบดินในสนาม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

โดยที่ในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการพูดถึงเรื่อง เครื่องมือ และ อุปกรณ์ ที่ใช้ในการทดสอบดินในสนามให้แก่เพื่อนๆ ได้รับทราบกัน โดยที่ประเด็นในการพูดถึงในวันนี้จะเป็นการพิจารณาถึงขอบเขตความสามารถของเครื่องมือเป็นหลักนะครับ

 

  1. เครื่องมือในการทำ TRIAL PIT TEST PIT

เครื่องมือชนิดนี้เป็นเครื่องมือที่ใช้การขุดหลุมโดยใช้แรงงานของคนเป็นหลัก ซึ่งหาได้ง่ายทั่วๆ ไป นิยมใช้กับดินที่ไม่แข็งมากนัก และ ในความลึกที่ค่อนข้างตื้นซึ่งจะมีการรบกวนดินที่ค่อนข้างน้อย สามารถเห็นการเรียงตัวของชั้นดินได้โดยง่าย แต่ เรามักจะพบปัญหาก็คือ ระดับของน้ำใต้ดินหากว่ามีการขุดที่ลึกกว่า 2 ม โดยเฉพาะดินทรายซึ่งจะมีการพังทลายของหลุมเจาะที่ง่ายกว่าดินชนิดอื่นๆ ด้วยเหตุผลข้างต้นเราจึงนิยมใช้วิธีการทดสอบนี้แค่ในการทดสอบดินขั้นต้นเท่านั้นนะครับ

 

  1. เครื่องมือในการทำ HAND AUGER BORING

เครื่องมือชนิดนี้เป็นเครื่องมือที่ใช้งานได้ค่อนข้างง่าย และ อาศัยแรงหมุนของ AUGER เป็นหลัก และ นิยมเครื่องมือชนิดนี้ใช้อยู่ด้วยกันสองชนิด คือ HELICAL AUGER กับ IWAN หรือ POST-HOLE AUGER นิยมใช้กับดินที่มีแรงยึดเหนี่ยวหรือพูดง่ายๆ คือดินที่มีความเหนียวมากๆ สามารถที่จะเจาะได้ที่ความลึก 5 – 7 ม โดยการต่อก้านเหล็ก ทั้งนี้ขนาดของหลุมเจาะด้วย AUGER นี้จะมีขนาดโดยประมาณอยู่ที่ 2.50 นิ้ว ถึง 4.00 นิ้ว นะครับ

 

  1. เครื่องมือในการทำ MECHANICAL AUGER BORINGS

เครื่องมือชนิดนี้เป็นเครื่องมือประเภทเครื่องจักร จะใช้สำหรับทำการหมุนตัว AUGER ทำให้สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและเจาะดินได้ลึกมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ระบบที่ใช้ในการทำงานจะอาศัยกำลังเจาะที่มาจากเครื่องยนต์ที่มีกำลังไม่น้อยกว่า 25 แรงม้า โดยที่หัวเจาะจะทำหน้าที่เจาะดินขึ้นลงด้วยระบบไฮดรอลิกส์ ซึ่งระบบนี้ถือว่าเป็นที่นิยมใช้กันมากในประเทศไทยเลยนะครับ

 

  1. เครื่องมือในการทำ SHELL AND AUGER BORING

เครื่องมือชนิดนี้เป็นเครื่องมือที่จะทำการเจาะดินด้วย HELICAL AUGER ร่วมกันกับการใช้ท่อ CASING เหมาะสาหรับดินที่ไม่มีความเชื่อมแน่นหรือพูดง่ายๆ คือดินทราย ทั้งนี้เพราะจะช่วยป้องกันการพังทลายทางด้านข้างของหลุมเจาะได้ดี ซึ่งจริงๆ แล้วเครื่องมือชนิดนี้จะสามารถประยุกต์ใช้ได้กับดินทุกชนิด โดยที่เรานิยมทำการสูบน้ำให้ไหลลงไปในหลุมเพื่อที่จะทำการเก็บ เศษกรวด และ ทราย ที่ไหลล้นออกมากับน้ำได้นะครับ

 

  1. เครื่องมือในการทำ CONTINUOUS-FLIGHT AUGER BORING

เครื่องมือชนิดนี้เป็นเครื่องมือที่ใช้สาหรับ ดินเหนียว หรือ ดินทราย หรือ ดินกรวด ที่มีเม็ดเล็กมากๆ โดยที่เครื่องมือชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นเกลียวสว่านติดอยู่รอบๆ ตัวของก้านเจาะโดยตลอดความยาวของก้านเจาะ วิธีการนี้ก็เป็นที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปเช่นกันนะครับ

 

  1. เครื่องมือในการทำ WASH BORING

เครื่องมือชนิดนี้เป็นเครื่องมือที่ใช้ความดันของน้ำที่มีส่วนผสมของสารแขวนลอยประเภท BENTONITE ซึ่งจะทำให้ดินเกิดความ หลวม และ หลุดลอย เป็นเม็ดขึ้นมา ซึ่งในการผสมมักจะใช้สัดส่วนความหนาแน่นเท่ากับ 1.10 ถึง 1.20 ตัน ต่อ 1 ลูกบาศก์เมตร ตัวอย่างของดินที่ลอยขึ้นมาก็จะผสมกันกับน้ำทำให้การนำส่วนที่ตกตะกอนไปทำการวิเคราะห์นั้นได้ผลที่ไม่ละเอียดเท่าที่ควร แต่ ต้องถือว่าวิธีการนี้เป็นที่นิยมใช้กันมากในระดับหนึ่ง เพราะ สามารถที่จะทำงานได้อย่างรวดเร็วนะครับ

 

  1. เครื่องมือในการทำ WASH PROBING

เครื่องมือชนิดนี้เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับการเจาะดินอย่างง่ายๆ โดยจะอาศัยการฉีดน้ำลงไปดินโดยตรง โดยมักที่จะใช้เพื่อหาค่าความเปลี่ยนแปลงของชั้น ดินอ่อน หรือ ดินที่มีความหลวม จนไปถึงชั้นดินที่มีความ แน่น และ แข็ง ซึ่งวิธีการนี้เป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุดในการสำรวจชั้นดินเลยก็ว่าได้ เพราะ สามารถที่จะทำงานได้ง่าย ประหยัดทั้ง เวลา และ ค่าใช้จ่าย นั่นเองนะครับ

 

  1. เครื่องมือในการทำ ROTARY BORING หรือ ROTARY DRILLING

เครื่องมือชนิดนี้เป็นเครื่องมือที่ใช้ ใบมีด หรือ หัวเจาะ ทำการหมุนลงไปในดิน และ เพราะอาศัยกำลังของเครื่องยนต์เป็นหลักจึงสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว เราจึงนิยมนำเครื่องมือชนิดนี้มาใช้สาหรับการเจาะ ดินที่มีความแข็งมากๆ หรือ หิน แต่อย่างไรก็ดี เราก็ยังต้องอาศัยน้ำเป็นตัวช่วยในการระบายความร้อนที่หัวเจาะที่บริเวณก้นหลุมด้านล่างอยู่ดีนะครับ

 

  1. เครื่องมือในการทำ PERCUSSION BORING หรือ PERCUSSION DRILLING

เครื่องมือชนิดนี้เป็นเครื่องมือที่จะทำการเจาะโดยอาศัยแรงกระแทกของ HEAVY CHISEL หรือ SPUN หรือ WASH BORING ในการนำ ตย ดินขึ้นมามาจากหลุม แต่ เพราะจะมีแรงกระแทกที่เกิดจาก นน ที่ค่อนข้างมาก จึงทาให้เป็นการรบกวน ตย ดินในชั้นที่อยู่ลึกลงไป ดังนั้นในการทำการเก็บ ตย ดินคนที่เป็นคนทำการทดสอบดินจึงจำเป็นที่จะต้องมีประสบการณ์ และ ความชำนาญ ในการควบคุมการเจาะในการปล่อยน้ำหนัก ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดการรบกวน ตย ดินให้น้อยที่สุดนั่นเองครับ

 

ยังไงในครั้งหน้าเราจะมาพูดและลงรายละเอียดกันถึงเรื่อง การเก็บตัวอย่างดิน กันบ้างนะครับ เพื่อนๆ ท่านใดมีความสนใจในหัวข้อนี้เป็นพิเศษก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความเรื่องนี้ของผมได้ในสัปดาห์ต่อไปนะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#ความรู้เกี่ยวกับการเจาะสำรวจดิน

#เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบดินในสนาม

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com