ข้อพึงปฎิบัติ หรือ GENERAL SPECIFICATION สำหรับในการทำงานพื้น POST-TENSIONED ชนิด BONDED SYSTEM

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

สืบเนื่องจากโพสต์เมื่อวานที่ผมได้อธิบายไปเกี่ยวกับเรื่องของการต่อทาบเหล็กทางกล หรือ การทำ COUPLER ในงาน คสล ผมพบว่ามีเพื่อนๆ ให้ความสนใจมากพอสมควรนะครับ เนื่องจากในงานเดียวกันนี้ที่ผมได้ไปทำการควบคุมงานจะมีการใช้ระบบพื้น คอร ชนิดดึงลวดทีหลังแบบมีแรงยึดเหนี่ยวซึ่งผมโดยที่ได้อธิบายรายละเอียดและวิธีในการทำแก่เจ้าของด้วย ผมเห็นว่าน่าที่จะมีประโยชน์จึงนำมาแชรืต่อให้แก่เพื่อนๆ ด้วยนะครับ

ต่อไปนี้ถือเป็นข้อพึงปฎิบัติ หรือ GENERAL SPECIFICATION สำหรับในการทำงานพื้น POST-TENSIONED ชนิด BONDED SYSTEM นะครับ

  1. การจัดวางตำแหน่งต่างๆ ให้เข้าที่
    การวางลวดอัดแรงต้องยึดติดกับ BAR CHAIR ซึ่งจะถูกวางระยะห่างกันไม่เกิน 1 เมตร มีความคลาดเคลื่อนได้ไม่เกินค่าต่อไปนี้
    ระยะในทางดิ่ง คลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน H/40 หรือ 5 mm
    ระยะในทางราบ คลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน 20 mm
  2. การดึงลวดอัดแรง
    การดึงลวดอัดแรงให้ทำการดึงด้วยแรงดึง 75% ของค่า ULTIMATE STRENGTH ของลวดอัดแรง เช่น ใช้เป็นลวดอัดแรงชนิด 7 WIR STRANDS เกรด 1860 ขนาด 12.7 mm โดยที่ลวดขนาดนี้จะมี พท หน้าตัดเท่ากับ 0.9871 cm^(2) และมีค่า ULTIMATE STRENGTH ของลวดเท่ากับ 18600 ksc แสดงว่าเราจะต้องทำการดึงลวดด้วยแรงเท่ากับ (0.75)(18600)(0.9871)= 13.77 Tons เป็นต้น ซึ่งก่อนดึงลงดนั้นเราจะต้องทำการ CALIBRATE เครื่องดึงลวดด้วย PROVING RING เพื่อหาค่าแรงดึงที่ถูกต้องและจะต้องมีการตรวจสอบค่าแรงดึงที่เกิดขึ้นในลวดอัดแรงด้วยค่าการยืดตัวจริง (ACTUAL ELONGATION) เปรียบเทียบกันกับค่าการยืดตัวที่ได้จากการคำนวณ (CALCULATED ELONGATION) ผลต่างของค่าการยึดตัวเฉลี่ยในแต่ละ PANEL จะต้องมีค่าไม่มากไปกว่า ±5% หาค่าๆ นี้ออกมามากกว่า -5% เราจะต้องทำการดึงลวดอัดแรงเพิ่มเติมโดยใช้ค่าแรงดึงไม่เกิน 80% ของค่า ULTIMATE STRENGTH ของลวดอัดแรง
  3. ตรวจสอบค่า ELONGATION ภายในขั้นตอนการอัดแรง
    ภายหลังจากการอัดแรงเสร็จแล้วและผู้ควบคุมงานได้ตรวจสอบค่าการยึดตัว (ELONGATION) ของลวดอัดแรงแล้ว ก็ให้ทำการตัดปลายลวดด้วยเครื่องตัดใบไฟเบอร์ โดยให้มีปลายลวดอัดแรงเหลืออยู่ประมาณ 1 เซนติเมตร โดยห้ามใช้เปลวไฟหรือความร้อนตัดโดยเด็ดขาดและให้ทำการอุดปูนทรายหุ้มสมอยึด หรือ ANCHORAGE โดยเร็วที่สุด กรณีที่ยังทำการอุดด้วยปูนทรายไม่ได้ก็ให้ทำการทาปลายลวดและสมอยึดที่สัมผัสกับอากาศด้วยวัสดุจำพวก ฟลิ้นโค๊ท หรือวัสดุอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
  4. การเตรียมการ GROUT ท่อที่ทำการดึงวลวดอัดแรง
    วัสดุที่ใช้เป็นวัสดุ GROUTING จะใช้เป็นส่วนผสมของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ชนิดที่ 1 ผสมกันกับน้ำ และ EXPANSION ADDITIVE โดยต้องทำการผสมภายใน MIXER TANK ซึ่งมีใบพัดกวนผสมให้ส่วนผสมมีความสม่ำเสมอตลอดเวลา
  5. การทำความสะอาดท่อที่ทำการดึงวลวดอัดแรง
    ก่อนขั้นตอนของการอัดน้ำปูนเราจะต้องทำความสะอาดลวดอัดแรงและภายในท่อร้อยลวดอัดแรง (TENDONS) ด้วยน้ำสะอาดและทำการเป่าด้วยลมจนแห้งสนิทเสียก่อน
  6. การทำการ GROUT ท่อที่ทำการดึงวลวดอัดแรง
    การ GROUTING จะต้องฉีดน้ำปูนด้วย GROUT PUMP เข้าไปในท่อร้อยลวดผ่านรูที่สมอยึดด้านหนึ่งโดยให้ทำการ GROUT ไปจนกระทั่งน้ำปูนไหลผ่านออกจากรูที่สมอยึดอีกด้านหนึ่งแล้วจึงค่อยทำการปิดรูระบายอากาศ (AIR VENT) โดยให้ทำแบบนี้ไล่เป็นลำดับไปและทำการอัดน้ำปูนให้ได้หน่วยแรงคงที่ๆ 7 ksc ก่อนที่จะทำการปิดรูที่ GROUTING END โดยมีข้อพึงระวังว่าในการ GROUT นี้จะต้องไม่สูญเสียความดันภายในท่อที่ทำการร้อยลวดด้วย

ก็หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN