บล็อค บทความเพื่อให้ความรู้ เกร็ดความรู้ ทางด้านวิศวกรรมการก่อสร้างและฐานรากด้วยเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ซึ่งช่วยแก้ปัญหาและตอบโจทย์การก่อสร้างได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
บทความใหม่ๆ อัพเดทบนเพจ ภูมิสยาม ไมโครไพล์ http://bit.ly/2O6GBMu

การตอกเสาเข็มไมโครไพล์ ให้ลึกถึงระดับมาตรฐาน (BLOW COUNT)

การจะดูว่าการตอกเสาเข็มในแต่ละจุดว่าเสร็จสิ้นเรียบร้อยตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่นั้น มิใช่ดูแต่เพียงว่าเสาเข็มตอกจมมิดลงไปในดินเท่านั้น แต่จะต้องดูจำนวนครั้งในการตอกด้วย (Blow Count) ว่าเสาเข็มแต่ละต้นใช้จำนวนครั้งในการตอกเท่าใดจนเสาเข็มจมมิดดิน ถ้าจำนวนครั้งในการตอกน้อยเกินไป คือสามารถตอกลงไปได้ง่าย แสดงว่าความแน่นของดินที่จุดนั้นที่จะใช้ในการรับน้ำหนักยังไม่เพียงพอ อาจจะต้องมีการต่อเสาเข็มและตอกเพิ่มลงไปอีกจนกว่าจำนวนครั้งในการตอกจะเป็นไปตามที่กำหนด ในทางตรงกันข้ามถ้าจำนวนครั้งในการตอกมากเพียงพอแล้วแม้ว่าเสาเข็มที่ตอกนั้นจะยังจมไม่มิดก็อาจแสดงว่าความแน่นของดินที่จุดนั้นที่จะใช้ในการรับน้ำหนักเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นจะต้องตอกต่อลงไปอีก เพราะการฝืนตอกต่อไปอาจทำให้เสาเข็มแตกหักหรือชำรุดได้ ส่วนจำนวนครั้งในการตอกเสาเข็มแต่ละต้นควรจะเป็นเท่าใดนั้นวิศวกรจะเป็นผู้กำหนด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของพื้นที่หน้าตัดเสาเข็ม และความยาวของเสาเข็มนั้น ๆ

การออกแบบโครงสร้าง “เสาเหล็กรับแรงดึง”

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน ในช่วงสองวันที่ผ่านมานั้นผมไม่ได้มาพบปะพูดคุยกับเพื่อนๆ เหมือนเช่นเคยเพราะผมติดภารกิจงาน “ช่วย” คือ ผมต้องไปช่วยงานแก้ไขงานออกแบบอยู่งานหนึ่ง ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นนี้มีความสำคัญอย่างมากในการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง ผมเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อเพื่อนๆ จึงขออนุญาตนำมาเล่าสู่กันฟังนะครับ เรื่องๆ นี้คือ น้องท่านนี้พบปัญหาในการออกแบบโครงสร้าง “เสาเหล็กรับแรงดึง” งงมั้ยครับ ? ผมไม่ได้พิมพ์ผิดนะครับ เพราะเสาต้นนี้รับแรงดึงจริงๆ เพื่อนๆ หลายๆ … Read More

การคำนวณทางด้านกลศาสตร์โครงสร้าง (STRUCTURAL MECHANICS COMPUTATION หรือ SMC)

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การคำนวณทางด้านกลศาสตร์โครงสร้าง (STRUCTURAL MECHANICS COMPUTATION หรือ SMC) นะครับ เนื่องจากเมื่อวานนี้ผมได้โพสต์เกี่ยวกับเรื่องการนำทฤษฎีเรื่อง INFLUENCE LINE มาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างสะพาน ปรากฏว่ามีเพื่อนๆ หลายๆ ท่านให้ความสนใจ และ มีคำถามตามมาด้วยว่า อยากทราบวิธีในการสร้างตัวแผนภูมิ INFLUENCE … Read More

การเกิดฝุ่นที่ผิวหน้าคอนกรีต…มีสาเหตุมาจากอะไร จะแก้ปัญหาได้โดยวิธีไหน

การเกิดฝุ่นที่ผิวหน้าคอนกรีต เป็นการสะสมของวัสดุที่มีลักษณะเป็นผงหรืออนุภาคขนาดเล็กอยู่ที่บริเวณผิวหน้าของคอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับโครงสร้างคอนกรีตประเภทพื้นและผิวถนน โดยจะเกิดภายหลังจากการใช้งานหรือถูกขัดสีไปแล้วระยะเวลาหนึ่ง สาเหตุที่ทำให้ผิวหน้าของคอนกรีตเป็นฝุ่น ฝุ่นที่ผิวหน้าคอนกรีตมีสาเหตุมาจากการที่ผิวหน้าคอนกรีตมีความอ่อนแอ ไม่สามารถต้านทานการขัดสีซึ่งเกิดขึ้นโดยปกติหรืออาจถูกขีดข่วนด้วยวัสดุที่มีความแข็งหรือจากการกวาดพื้น อนุภาคของส่วนละเอียดที่ไม่มีแรงยึดเหนี่ยวกับคอนกรีต ทำให้อนุภาคของส่วนละเอียดนี้หลุดร่อนออกมา โดยมีสาเหตุหลักดังนี้ การเลือกใช้คอนกรีตไม่ถูกกับประเภทของงาน เช่น เลือกใช้คอนกรีตที่มีกำลังอัดต่ำเกินไป และมีความสามารถต้านการขัดสีได้น้อย มีปริมาณน้ำในส่วนผสมคอนกรีตที่มากเกินไปหรือมีการเติมน้ำที่หน้างาน เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเยิ้มน้ำขึ้นที่ผิวหน้าคอนกรีต ซึ่งทำให้อัตราส่วนระหว่างน้ำและวัสดุประสานที่ผิวหน้าคอนกรีตสูงขึ้นมาก ทำให้ความทนต่อการขัดสีลดลงอย่างมาก การแต่งผิวหน้าคอนกรีตที่เร็วเกินไป ทำให้น้ำที่จะเยิ้มขึ้นมาที่ผิวหน้าถูกดันกลับเข้า … Read More

1 27 28 29 30 31 32 33 168